การพัฒนาความสุขของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ บุญทรง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสุข, ความสุขของบุคลากรสาธารณสุข, การคิดเชิงออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาสภาพความสุข ปัญหา ความต้องการความสุขด้านสุขภาพเงินดีและศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเงินของบุคลากรสาธารณสุขใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) จากแบบประเมินความสุขรายบุคคลแบบออนไลน์กลุ่มตัวอย่าง 10,425 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้บริหาร ข้าราชการ ลูกจ้างประจำพนักงานราชการ พนักงานกระทรวง และลูกจ้างชั่วคราว ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอเหล่าเสือโก้ก จำนวน 12 คน ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบลอจิสติค ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลวิจัย พบว่า อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การมีบุตร ลักษณะงานที่ทำ สถานภาพการจ้างงาน ระยะเวลาที่ทำงานในองค์กร จำนวนครั้งที่เปลี่ยนงาน และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความสุขด้านสุขภาพเงินดี (p value<.05)  โดยสภาพปัญหาด้านการเงินเริ่มจากขาดการวางแผน มีหนี้สินเกิดจากความจำเป็นและการใช้จ่ายที่มากเกินไป ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ครอบครัว สุขภาพ และเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ข้อมูลที่ได้นำมาตั้งโจทย์ปัญหาเชิงนวัตกรรมได้ว่า “เราจะทำให้บุคลากรมีความรู้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาด้านการเงิน มีการออมเงิน และสร้างอาชีพเสริม ได้อย่างไร” โดยทำการออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาฯ ด้วยการทำคลิปวิดิโอสั้น ๆ ที่เข้าใจง่าย เพื่อเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ หน่วยงาน ฯ ควรส่งเสริมวิธีการแก้ไขปัญหาความสุขของบุคลากรเชิงนวัตกรรม

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560–2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ (2 พิมพ์ครั้งที่ 1). กองยุทธศษสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2565). ผลการประเมินความสุขบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข (Happinometer) และผลการประเมินสุขภาวะองค์กร (HPI). สืบค้นจาก https://happy.moph.go.th/

พงศธร พอกเพิ่มดี และคณะ. (2561). Happy MOPH กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแห่งความสุข. สืบค้นจาก https://happy.moph.go.th/

ไพรัช บำรุงสุนทร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขของบุคลากรด้านสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระนอง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4 (1), 22- 35.

วิทยา พลาอาด และนพดล ละอองวิจิตร. (2561). ปัจจัย ทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในจังหวัดสตูล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 20-28.

วาสนา จึงตระกูล. (2562). การประเมินความสุขของบุคลากร โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 107-135.

วิริยา วิจิตรวาทการ และคณะ. (2007). Design Thinking Bootcamp bootleg. Institute of Design at Stanford. ศูนย์นวัตกรรมสังคม G-Lab วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมโภช บุญวัน, สมโภช รติโอฬาร และวรางคณา จันทร์คง. (2564).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3), 139-151.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง Happinometer (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Brenner, B. (1975). Quality of affect and self-evaluated happiness. Social indicators research, 2 pp. 315-331.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-09