ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา เจริญรื่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ Alpha Cronbach’s coefficient เท่ากับ 0.855 และ 0.774 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson’s correlation

ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.74 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 51.28 สถานภาพสมรส ร้อยละ72.43 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 59.61 อาชีพส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 34.61 ระยะเวลาป่วย 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 61.53 มีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.17 S.D.=0.345) พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมมีการปฏิบัติเป็นประจำ (x=4.54 S.D.=0.311) และพบว่า ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน (r= .398) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value< .05)

จากผลวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบบริการผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

References

กิตนิษฐา โพธิ์ละเดา, วรัชฎา ราชชมภู, สิรินาถ นักรำ, ประเสริฐ ประสมรักษ์, สุภาวดี พันธุมาศ และยุวดี สารบูรณ์. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมืองและเขตชนบท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.2(1), 22-39.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 8(2), 142-155.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ และฐิติวรรณ โยธาทัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร. 24(1), 23-33.

ภมร ดรุณ และประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15(3), 71-82.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดชมภู. (2565). แฟ้มเอกสารบันทึกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิบูลมังสาหาร. (2565). แฟ้มข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC). สืบค้นจาก http://zone1.phoubon.in.th/hdc

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 25(3), 43-54.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1989). Research in education (6th Edition). Englewoods Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Cronbach, L.J. (1984). Essential of Psychological Testing. Harper & Row. Retrieved from http://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/what-does-cronbach’s alpha mean/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31