ผลการรักษานิ่วในไต โดยการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • นิศาวร ศิริบูรณ์พิพัฒนา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

นิ่วในไต, การผ่าตัดนิ่วในไตโดยการส่องกล้องผ่านทางท่อไต, กล้องส่องท่อไตชนิดโค้งงอ, อัตราการหายของนิ่ว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษานิ่วในไต โดยการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ใช้รูปแบบการวิจัยการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Descriptive study)  เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่องกล้องทางเดินปัสสาวะที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2565 โดยสืบค้นข้อมูลย้อนหลังในระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล (HOS-XP) โดยแบบเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลลักษณะของนิ่ว ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 42 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.30 อายุเฉลี่ย 52.60 ปี นิ่วที่พบมีขนาดนิ่วเฉลี่ย 23.00+7.00 มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่า 20.00 มิลลิเมตร ร้อยละ 57.10 ตำแหน่งของนิ่วพบมากที่สุดที่กรวยไต (ร้อยละ 52.40) ระยะเวลาส่องกล้องเฉลี่ยและระยะเวลาในการใช้เลเซอร์เฉลี่ย เท่ากับ 40.38 (S.D.+15.68) นาที และ 26.90 (S.D.+14.23) นาที ระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 3.24 (S.D.+0.62) วัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบคือไข้ (ร้อยละ 23.80) อัตราการหายของนิ่ว ในนิ่วขนาด 10.00-20.00 มิลลิเมตร พบร้อยละ 61.10 และขนาดมากกว่า 20.00 มิลลิเมตร พบร้อยละ 50.00 เมื่อแบ่งกลุ่มตามตำแหน่งของนิ่วพบอัตราการหายของนิ่ว ร้อยละ 100.00 ที่นิ่วตำแหน่งขั้วไตบน, ร้อยละ 33.30 ตำแหน่งขั้วไตกลาง, ร้อยละ 25.00 ที่ขั้วไตล่าง, ร้อยละ 59.10 ที่กรวยไต, ร้อยละ 66.70 ที่รอยต่อท่อไตกับกรวยไต อัตราการหายของนิ่วรวม ร้อยละ 73.80 ซึ่งขนาดของนิ่ว ตำแหน่งของนิ่ว ไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการหายของนิ่วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปผลการศึกษาพบว่าการรักษานิ่วในไตโดยการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัย ได้ผลการรักษาที่ดี และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย

References

เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์. (2560). ศัลยกรรมไตย้อนกลับผ่านท่อปัสสาวะ (RIRS). วารสารวิทยาการทางเดินปัสสาวะไทย, 38(1), 39-44.

Akman T, Binbay M, Ozgor F, Ugurlu M, Tekinarslan E, Kezer C, et al. (2012a). Comparison of

percutaneous nephrolithotomy and retrograde flexible nephrolithotripsy for the

management of 2-4 cm stones: a matched pair analysis. British Journal of Urology International, 109(9), 1384-1389.

Akman T, Binbay M, Ugurlu M, Kaba M, Akcay M, Yazici O, et al. (2012b). Outcomes of retrograde

intrarenal surgery compared with percutaneous nephrolithotomy in elderly patients with

moderate size kidney stones: a matched-pair analysis. Journal of Endourology, 26(6), 625-629.

Berardinelli F, Proietti S, Cindolo L, Pellegrini F, Peschechera R, Derek H, et al. (2016). A prospective multicenter European study on flexible ureterorenoscopy for the management of renal stone. International Brazilian Journal of Urology, 42(3), 479-486.

Giusti G, Proietti S, Peschechera R, Taverna G, Sortino G, Cindolo L, et al. (2015). Sky is no limit for Ureteroscopy: extending the indications and special circumstances. World J Urol, 33(2), 257-273.

Hansomwong T, Nualyong C, Taweemonkongsap T, Amornvesukit T, Phinthusophon K, Jitpraphai S, et al. (2017). Perioperative outcomes of retrograde intrarenal surgery (RIRS) Treatment of renal calculi in Siriraj Hospital. Journal of the Medical Association of Thailand, 100(2), S144-S149.

Kim CH, Chung DY, Rha KH, Lee JY, Lee SH. (2020). Effectiveness of percutaneous nephrolithotomy, retrograde intrarenal surgery, and extracorporeal shock wave lithotripsy for treatment of renal stones: A systematic review and meta-analysis. Medicina (Kaunas), 57(1), 1-23.

Koyuncu H, Yencilek F, Kalkan M, Bastug Y, Yencilek E, Ozdemir AT. (2015). Intrarenal surgery vs percutaneous nephrolithotomy in the management of lower pole stones greater than 2 cm. International Brazilian Journal of Urology, 41(2), 245-251.

Maneesuwansin S. (2020). Preliminary study of outcomes of retrograde intrarenal surgery for renal stone in Phaholpolpayuhasena hospital. Kanchanaburi Medical Journal, 23(4), 39-50.

Nualyong C, Sathidmangkang S, Woranisarakul V, Taweemonkongsap T, Chotikawanich E. (2019). Comparison of the outcomes for retrograde intrarenal surgery (RIRS) and percutaneous nephrolithotomy (PCNL) in the treatment of renal stones more than 2 centimeters. The Thai Journal of Urology, 40(1), 9-14.

Osman MM, Alfano Y, Kamp S, Haecker A, Alken P, Michel MS, Knoll T. (2005). 5-year-follow-up of patients with clinically insignificant residual fragments after extracorporeal shockwave lithotripsy. European Urology, 47(6), 860-864.

Ramello A, Vitale C, Marangella M. (2000). Epidemiology of nephrolithiasis. Journal of Nephrology, 13(3), 45-50.

Sriboonlue P, Prasongwattana V, Tungsanga K, Tosukhowong P, Phantumvanit P, Bejraputra O, et al. (1991). Blood and urinary aggregator and inhibitor composition in controls and renal stone patients from northeastern Thailand. Nephron, 59, 591–596.

Turk C, Neisius A, Seitz C, Skolarikos A, Petrik A, Thomas K, et al. (2020). EAU Guidelines on Urolithiasis, European Association of Urology, 1-87.

Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, Soga N, Kameda K, Sriboonlue P, et al. (1997). Incidence of urolithiasis in northeast Thailand. International Journal of Urology, 4, 537-40.

Zengin K, Tanik S, Karakoyunlu N, Sener NC, Albayrak S, Tuygun C, et al. (2015). Retrograde intrarenal surgery versus percutaneous lithotripsy to treat renal stone 2-3 cm in diameter.nBioMed Research International, 2015, 1-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-23