ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่อการจัดการความเครียดของบุคลากรทางสุขภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ประภาภรณ์ เพชรมาก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
  • อดิศักดิ์ บัวศรียอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

คำสำคัญ:

โปรแกรมจิตตปัญญาศึกษา, การจัดการความเครียด, บุคลากรทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่อการจัดการความเครียดของบุคลากรทางสุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยบุคลากรทางสุขภาพของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จำนวน 38 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 - เดือนเมษายน 2566 โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการจัดการความเครียดตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาร่วมกับแนวคิดทฤษฎีความเครียดและความสามารถจัดการความเครียดของ Lazarus & Folkman ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ Check in-Check out สติตื่นรู้ การฟังอย่างใคร่ครวญ อริยสัจ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด (SPST-20) และแบบประเมินความสามารถจัดการความเครียด ระยะเวลาในการเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 2 สัปดาห์ๆ ละ 4 วัน เก็บข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาเมื่อครบ 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดและความสามารถจัดการความเครียดก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาโดยใช้ Paired sample t-test ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดและระดับความเครียดของบุคลากรทางสุขภาพหลังเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนความสามารถจัดการความเครียดโดยรวมและรายด้านหลังเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถจัดการความเครียดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_1.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียดฉบับปรับปรุงใหม่. กระทรวงสาธารณสุข.

ทรงวุฒิ ชนะอุดมสุข และธีระวุธ ธรรมกุล. (2565). ภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอปราณบุรี จังหวัดระจวบคีรีขันธ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 20(1), 63-76.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และคณะ. (2563). คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. สืบค้นจาก https://dmh-elibrary.org/items/show/161.

ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา:การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 7-11.

ประเวศ วะสี. (2550). มหาวิทยาลัยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยพงศ์ สอนลบ, เบญญาภา พรมพุก และนันทวรรณ ธีรพงศ์. (2563). ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาต่อการตระหนักรู้ในตนเอง และความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(1), 41-53

ยุพิน ศรีชาต. (2562). ศึกษาการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจักขณ์ พานิช (2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญการศึกษาดังเส้นทางแสวงหาทางวิญญาณ (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาร่วมกับสวนเงินมีมา.

วิมลมาลย์ ศรีรุงเรือง. (2557). การใช้นวัตกรรมกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในนักศึกษาแพทย์ สำหรับรายวิชาสุขภาวะกายและจิต. Tracks & Trends in Healthcare; 6-8 สิงหาคม 2557 คณะแพทยศาสตร์; สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2562). แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ. สืบค้นจาก https://mhc8.dmh.go.th/Files/MentalhealthFile.pdf

Lazarus, R. & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York, Springer Publishing Company.

Mo, Y., Deng, L., Zhang, L., Lang, Q., Liao, C., Wang, N, et al. (2020). Work stress among Chinese nurses to support Wuhan in fighting against the COVID-19 epidemic. Journal of Nursing Management, 10.1111/jonm.13014.

Yin, Q., Sun, Z., Liu, T., Ni, X., Deng, X., Jia, Y., et al. (2019). Posttraumatic stress symptoms of health care workers during the Coronavirus disease. Clinical Psychology Psychotherapy, 27, 384-395.

World Health Organization. (2020). COVID-19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) Global research and innovation forum: towards a research roadmap. Retrieved from https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-18