การพัฒนารูปแบบการจัดการธนาคารขยะในชุมชน กรณีศึกษา ตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บุญมี เลคะฉันท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ธนาคารขยะ, การจัดการขยะในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการธนาคารขยะในชุมชน กรณีศึกษา ตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ขั้นตอนวิจัย 1) การศึกษาสถานการณ์สภาพปัจจุบัน 2) การศึกษารูปแบบการจัดการธนาคารขยะในชุมชน 3) การพัฒนาข้อเสนอการจัดการธนาคารขยะในชุมชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ท่าน 2) ประชาชนในตำบล จำนวน 400 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 155 คน เครื่องมือ   ที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และแบบสอบถาม

                ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาสถานการณ์สภาพปัจจุบันพบว่า ชุมชนมีความแออัดติดถนนหลัก มีผู้สัญจรจำนวนมากคนในชุมชนหันมาพึ่งพาตลาดนัด มีการลักลอบทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ บางครอบครัวยังไม่เข้าใจในการคัดแยกขยะ ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ส่วนใหญ่คนมักทิ้งขยะข้างถนน/ที่ดินคนอื่น (ร้อยละ 41.91, 43.01) การจัดการขยะที่พบ 1) มีการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว 2) ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะบางส่วน 3) เสนอให้ทุกหลังคาเรือนมีถังขยะทุกครัวเรือนเพื่อทิ้งขยะให้ถูกที่ 4) จัดการคัดแยกขยะและควบคุมปริมาณขยะครัวเรือนของตนเอง 5) มีการรณรงค์ใช้ถุงผ้าตะกร้าแทนการใช้ถุงพลาสติกแต่ยังไม่ครอบคลุม 6) ส่งเสริมเรื่องการอบรมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม 7) ให้ความรู้ความเข้าใจด้านการคัดแยกขยะ การศึกษารูปแบบการจัดการธนาคารขยะในชุมชน มีแนวคิดให้ชาวบ้านสมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะ คัดแยกขยะ นำมาขายฝากกับธนาคารขยะ มีเจ้าหน้าที่องค์การบริหารตำบลแก้งออกมารับซื้อเดือนละ 1 ครั้งแล้วฝากเงิน เข้าบัญชีสมาชิกเพื่อเป็นเงินสงเคราะห์ครอบครัวเมื่อเสียชีวิต ปัญหาที่พบ 1) ยังมีครอบครัวยังไม่เป็นสมาชิกธนาคารขยะ 2) ยากที่จะหาขยะมาฝากแต่ละเดือน 3) สมาชิกขาดการติดต่อ 4) กำหนดการรับซื้อขยะมีการคลาดเคลื่อน 5) ราคารับซื้อต่ำกว่าผู้รับซื้อทั่วไป การประเมินรูปแบบการจัดการธนาคารขยะในชุมชน กลุ่มประชาชน และ อสม. พบว่ามีความเหมาะสมระดับมาก สอดคล้องกัน ดังนี้ 1) การจัดตั้งคณะกรรมการ 2) การกำหนดนโยบาย แผนงาน และ โครงการ 3) การออกระเบียบหลักเกณฑ์ 4) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ 5) การประชาสัมพันธ์ 6) การดำเนินการธนาคารขยะในชุมชน และ 7) การประเมินผล

การพัฒนาข้อเสนอการจัดการธนาคารขยะในชุมชน ด้านบุคคล ส่งเสริมการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ การรณรงค์เป็นสมาชิกกลุ่ม ด้านการเงิน การกำหนดราคารับซื้อ การจ่ายเงินสงเคราะห์ ด้านวัสดุอุปกรณ์ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ และด้านบริหารจัดการ จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการ วางระบบการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชน ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/3828

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/3819

กรรณิการ์ บุตรเอก สุวิมล แก้วเงา และปิยะดาว ชิระวงศกร. (2555). สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 74-90.

ธัชพล ทีดี, จุฑามาศ พรรณสมัย และชลิดา แสนวิเศษ. (2565). การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแพะตีนดง ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 55-70.

นพดล จานชมภู. (2556). การศึกษาการจัดการขยะชุมชนเทศบาลตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. [โครงการหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด. (2565). แผนปฏิบัติการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัด สะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://www.nakhonlocal.go.th/datacenter/doc_download/a_160323_164530.pdf

สุทารัตน์ ชูดอก และเขมิกา สงวนพวก (2564). การบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2) 28-48.

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมษายน. (2561). รายงานผลการวิจัย เรื่อง ศึกษาโครงการการศึกษาระดับพฤติกรรมด้านการจัดการขยะของคนไทย (เล่ม 1). สืบค้นจาก https://datacenter.deqp.go.th/media/images/2/96/Final_Report_Waste_Beh_V1_%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A2_2561.pdf

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). โครงการศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”. สืบค้นจาก https://ubonratchathani.mnre.go.th/th/index

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี. (2565). โครงการเมืองสวยใสไร้มลพิษ และโครงการสนับสนุน ขับเคลื่อนจังหวัดสะอาด. สืบค้นจาก https://www.mnre.go.th/reo12/th/index

สำนักสิ่งแวดล้อม. (2558). แนวคิดการจัดการขยะมูลฝอยของนานาประเทศ. กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.environnet.in.th/archives/3695

สุณีรัตน์ ยั่งยืน และคณะ. (2557). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการธนาคารขยะของชุมชน ตำบลขามเรียงอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 158-167.

อมรสิทธิ์ เทียนชุบ. (2553). การจัดการธนาคารขยะสำหรับชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอยู่เจริญบุญมา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อรรถพล เจริญชันษา (2563). นโยบายการลดและคัดแยก ขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/garbage

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-02