ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • วิระดา เสือมาก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การปฏิบัติงาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และแรงสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่เทศบาลตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 177 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson’s correlations analysis

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.70 2) ระดับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 70.60 3) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.80 และ 4) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (r=0.405) และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม (r=0.444) มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลวิจัยควรดำเนินการเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และให้การสนับสนุนทางสังคมอย่างต่อเนื่อง

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. สืบค้นจาก http://bangchalong.go.th/public/ebook_upload/backend /ebook_5_1.pdf.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2564. สืบค้น จาก https://hss.moph.go.th/HssDepartment /file_ reference/20210506935772122.pdf.

กองสุขภาพภาคประชาชน. (2566). แบบรายงานระบบฐานข้อมูล อสม. สืบค้นจากhttps://www.thaiphc.net/thaiphcweb/index.php?r=staticContent /show&id=1.

แจ่มนภา ใขคํา, ชลิยา ศิริกาลม, ถนอมศักดิ์ บุญสู่ และแกวใจ มาลีลัย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลธาตุ อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(2), 59-68.

ชวลิต สุขเจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์, นิตยา จันทบุตร และใจเพชร นิลบารันต์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 8(1), 1-10.

นนฤมล นาสุริวงษ์, นภัสรา สีดามาตย์, มนฑกานต์ ทาทิวัน และสุพัฒน์ อาสนะ. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคล และแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการนนทรีอีสานนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน, 7(1), 1-10.

นิภาวรรณ รัชโทมาศ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพบูลย์ อินทมาส. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แพรวไหม ผดุงกลิ่น. (2564). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นจาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/research/MA2564-002-01-0000000518-0000000447.pdf

ภูรีนุช เจริญสรรพ. (2562). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการปฏิบัติงานทีมหมอครอบครัว จังหวัดจันทบุรี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 (น. 71). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุทธนา แยบคาย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครประจำครอบครัว จังหวัดสุโขทัย. วารสารพยาบาลตำรวจ, 13(1), 34-42.

ศรายุทธ คชพงศ์ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 107–119.

สหัทยา ถึงรัตน์. (2559). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี [ปัญหาพิเศษหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 1(2), 75-90.

สุธิสา กรายแก้ว, ภัชลดา สุวรรณนวล, สุภาภรณ์ โสภา และพระครูธีรธรรมพิมล. (2563). บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 69-81.

Jesse A Greenspan, Shannon A McMahon and Peter J Winch. (2013). Sources of community health worker motivation: a qualitative study in Morogoro Region, Tanzania. Greenspan et al. Human Resources for Health, 1, 1-14.

Greenspan, J. A., McMahon, S. A., & Winch, P. J. (2013). Sources of community health worker motivation: A qualitative study in Morogoro Region, Tanzania. Human Resources for Health, 1, 1-14.

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-23