ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ คงธรรม โรงพยาบาลปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือผู้สุงอายุจำนวน 214 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นระหว่าง 20 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุแบบพหุโดยใช้การวิเคราะห์ Multiple logistic regression และการประมาณช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของ Adjusted Odds ratio กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ 0.26 เท่า (AOR=0.26, 95%CI=0.08-0.80) ผู้สูงอายุที่มีผู้ดูแลมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ 0.09 เท่า (AOR=0.09, 95%CI=0.01-0.93) ผู้สูงอายุที่ได้รับปัจจัยทางจิตวิทยาที่ไม่ดีมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้สูงอายุที่ได้รับปัจจัยทางจิตวิทยาที่ดี 4.47 เท่า (AOR=4.47, 95%CI=1.04-19.11) ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพไม่ดีมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี 7.03 เท่า (AOR=7.03, 95%CI=2.38-20.75) และผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดีมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ไม่ดี 0.18 เท่า (AOR=0.18, 95%CI=0.05-0.58) จากผลการวิจัยการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว

References

ฐิติรัตน์ ช่างทอง และเกษตรชัย และหีม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคม การรับรู้ และการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(2), 54-64.

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2), 103-116

ธนา คลองงาม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1(4), 174-181.

ปิติคุณ เสตะปุระ และณัฐธกูล ไชยสงคราม. (2565). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 1070-1084.

ประสบสุข ศรีแสงปาง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ:ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(1), 129-140.

พรทิพย์ แก้วสว่าง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 19(1), 36-48.

พิทยุตม์ คงพ่วง, พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง, วัชรี เพ็ชรวงษ์ และสุนันทรา ขำนวนทอง. (2564). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 338-348.

โรงพยาบาลปางมะผ้า. (2565). สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565.

วิชัย เอกพลากร. (2551). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ฉบับ สุขภาพเด็ก พ.ศ. 2551-52, นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราพิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.

วิชาภรณ์ คันทะมูล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(3), 83-92.

วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก และนิตยา ทองหนูนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 52-62.

วิภา ไพนิกพันธ์, บุษกร เพิ่มพูล และวรกร วิชัยโย. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(1), 11-23.

ศิริภัททรา จุฑามณี, สมบัติ ประทักษ์กุลวงศา และเพชรไพลิน พิบูลนิธิเกษม. (2562). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2), 141-148.

สุรเดชช ชวะเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 174-181.

อิทธิพล พลเยี่ยม. (2556). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์ และฐาติมา เพชรนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล, 70(4), 20-27.

Beck A.T. (1967). Depression: Clinic, experimental and theoretical aspects. New York: Hoeber Medical Division.

Beck, A.T., Rush, A.J., Shaw, B.F., & Emery, G. (1997). Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford Press.

Cohen, H.G., Staley, F.A. & Willis J.H. (1989). Teaching science as s decision making process. 2nd. Iowa: Kendall/ Hunt Publishing Company.

Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine, 17(14), 1623-1634.

Orth, U., Robins, R.W., Trzesniewski, K.H., Maes, J., & Schmitt, M. (2009). Low self-esteem is a risk factor for depressive symptoms from young adulthood to old age. Journal of abnormal psychology, 118(3), 472-478.

National Clinical Guideline Centre. (2010). Delirium: Diagnosis, prevention and management. Royal College of Physicians (UK).

United Nations. (2017). World population prospects: The 2017 revision-Key Findings and Advance Tables.

World Health Organization. (2017). World Health Day 2017-Depression: let's talk. Retrieved from https://www.who.int/news-room/events/detail/2017/04/07/default-calendar/world-health-day-2017.

World Health Organization. (2023). Depression. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/depression#tab=tab_1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27