การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ หลักเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

        การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค และ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566 แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์หาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple Linear Regression ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคตามแนวคิดของ Kemmis และ Mc Taggart (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลองศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติPaired t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีทั้งหมด 4 ตัวแปร คือ ประวัติเคยเดินทางไปสถานที่เสี่ยง ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรค และปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
การป้องกันและควบคุมโรคได้ร้อยละ 42.50 (R2=0.425) รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค คือ PIKALCM Model ประกอบด้วย 1) นโยบาย 2) ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร 3) ความรู้และการรับรู้4) ความตระหนักและการมีส่วนร่วม 5) กฎหมายและการบังคับใช้6) การประสานงานและเครือข่าย 7) การประเมินผลและรายงาน หลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประชาชนมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความรู้เรื่องโรค ทัศนคติเกี่ยวกับโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค แรงสนับสนุนทางสังคม ความตั้งใจ การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard. สืบค้นจาก

https://ddc.moph.go.th/index.php.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและ

สิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(3), 66-75.

จันทร์ชนะสอน สำโรงพล, สุไวย์รินทร์ศรีชัย และ ภัทรพล โพนไพรสันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ

ป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 20 (COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ

สาธารณสุขชุมชน, 8(4), 85-105.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563) ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกัน

ตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา,

(2), 29-39.

ธวัชชัย ยืนยาว และเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการ

ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร

การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 555-564.

นงคราญ คันศร, อุรชา ภูมิจงรักษ์และณฐวรรณ พิมพ์โคตร. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา โดยการประยุกต์ใช้ปฏิทินชุมชนตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและ

พัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 1(1), 63-70.

พงศนาถ หาญเจริญพิพัฒน์, พลรัตน์ดา ดลสุข และพุทธิไกร ประมวล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม

อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 7(1), 116-121.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแส,ง ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล และจริยาวัตร คม

พยัคฆ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา

(โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน. (2565). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.)

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2564). การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษในการป้องกัน

และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระหว่างวันที่ 23 มกราคม-20 กุมภาพันธ์2564. สืบค้นจาก

https://hpc10.anamai.moph.go.th/th

ศศินา สิมพงษ์และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของ

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี, 10(2), 148-158.

สุเมธ อุ่นเสียม และวีระศักดิ์ เดชอรัญ. (2566). การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 3(1), 1-16.

สุวัฒน์ อุบลทัศนีย์ และขนิษฐา สุนพคุณศรี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

สุพรรณบุรี, 5(2), 92-109.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ. (2563). ปัจจัยเสี่ยงของผู้ติดเชื้อโรคโควิดในประเทศไทย (จาก

จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 2,568 ราย). https://www.nrct.go.th/news/ปัจจัยเสี่ยงของผู้ติดเชื้อโรคโควิดใน

ประเทศไทย-จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม-2568-ราย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). รายงานผลการดำเนินป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ประจำเดือนสิงหาคม 2565. สืบค้นจาก http://demo.phoubon.in.th/

Austrian K, et al. (2020). COVID-19 related knowledge, attitudes, practices and needs of

households in informal settlements in Nairobi, Kenya. Retrieved from: SSRN:

http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3576785 2020.

Haleem, A., Javaid, M., & Vaishya, R. (2020). Effects of COVID-19 pandemic in daily life. Current

Medicine Research and Practice, 10(2), 78-79. https://doi.org/10.1016/j.cmrp.2020.03.011

Kemmis, S & McTaggart, R. (1998). The Action Research Planer (3

rd ed.). Victoria: Deakin University.

Retnaningsih, E, Nuryanto, N., Oktarina, R., Komalasari, O, & Maryani, S. (2020). The Effect of

knowledge and attitude toward Coronavirus disease-19 transmission prevention practice

in South Sumatera Province, Indonesia. Journal of Medical Sciences, 8(T1), 198-202.

https://doi.org/10.3889/oamjms.2020.5184

Sintema, E. J. (2020). Effect of COVID-19 on the Performance of Grade 12 Students: Implications for

STEM Education. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education,

(7), em1851. https://doi.org/10.29333/ejmste/7893

Wadood, M.A., Mamun, A., Rafi, M.A., Islam, M.K., Mohd, S., Lee L, L. et al. (2020). Knowledge,

attitude, practice and perception regarding COVID-19 among students in Bangladesh:

Survey in Rajshahi University. medRxiv.9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24