พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ทศพล แก้วสิงห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอนสาย

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, พฤติกรรมป้องกัน, โปรแกรมสุขศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมป้องกันพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พฤติกรรมการป้องกันประกอบด้วยความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนจากครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีประวัติครอบครัวที่เคยป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง จำนวน 70 คน ระยะเวลาดำเนินโปรแกรมสุขศึกษาเป็นเวลา 3 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนเมษายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-Sample T-Test  

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.3 อายุเฉลี่ย 46 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 67.1 ประวัติครอบครัวที่เคยป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ร้อยละ 77.1 ส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ร้อยละ 34.3 และ 21.4 ตามลำดับ ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาก่อนและหลังการอบรม พบว่าความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนจากครอบครัวในการป้องกันโรค มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าการให้โปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จะทำให้ความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนจากสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็ตาม กลุ่มเป้าหมายต้องอาศัยกระบวนการติดตามและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบผลสำเร็จ สามารถป้องกันโรคได้

References

กิตติยา คำจันทร์, นพรัตน์ ส่งเสริม, ภัทรภร เจริญบุตร. (2564). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี ในอาเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธาน, 10(1), 60-69.

กรมการแพทย์. (2566). มะเร็งตับและท่อน้ำดี ภัยเงียบที่คนไทยต้องระวัง. สืบค้นจาก https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=40062

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บังอร พิมพ์จันทร์, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2564). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางบ่ออี จังหวัดสุรินทร์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 28(1), 14-24.

บรรจบ ศรีภา. (2551). แฉคนไทย 6 ล้านคนติดพยาธิใบไม้ตับต้นตอเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี. บ้านเมือง, 17(2), 1-2.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอนสาย. (2563 ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีตำบลคอนสาย

ลักขณา มาคะพุฒ, จุฑามาศ นพรัตน์ และมนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 1(1), 60-73.

ปรีชา ปิยะพันธ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ อําเภออุทุมพรพิสัย จังหวดศรีสะเกษ. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 21(1), 52-68.

ศักดิ์ชัย กามโร และรุจิรา ดวงสงค์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อนํ้าดีของญาติผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 22(2), 5-18.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2565). สถิติการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://nci.go.th

สมัชชาสุขภาพ. (2557). การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน. สืบค้นจาก https://main.samatcha.org/node/70

สำเริง จันทรสุวรรณ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิชิต แสงปราชญ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อรุณ จีระวัฒน์กุล และคณะ. (2542). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 1) ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Becker et al. (1975). Health Belief Model and Personal Health Behavior.

Hughes T, O'Connor T, Techasen A, Namwat N, Loilome W, Andrews RH, et al. (2017). Opisthorchiasis and cholangiocarcinoma in Southeast Asia: an unresolved problem. International Journal of General Medicine. 10, 227-37.

Wattanayingcharoenchaia S, Nithikathkulb C, Wongsarojc T, Royald L, Reungsange P. (2011). Geographic information system of Opisthorchis viverrini in northeast Thailand. Asian Biomed. 5(5), 687-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28