ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ สุนทรพุทธศาสน์ โรงพยาบาลจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

ความสุข, ความผูกพันองค์กร, ความสมดุลชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary analysis study) จากการสำรวจความสุขในการทำงานของบุคลากร (Happinometer) ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่าง ธันวาคม 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติครามเมอร์ วี และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดช่วงเชื่อมั่นที่ 95%

ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.10 มีอายุเฉลี่ย 39 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 58.62 ทำงานด้านการบริการร้อยละ 68.62 อยู่ในระดับปฏิบัติงาน ร้อยละ 88.97 มีความผูกพันองค์กร ร้อยละ 83.79 และมีความสมดุลชีวิตการทำงาน ร้อยละ 54.83 ผลการวิเคราะห์อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของบุคลากรในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (c2=6.80; p value=.033, n=0.15) ความผูกพันองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของบุคลากรในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.66, 95%CI: 0.59-0.72; p value<.001) และความสุมดุลชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของบุคลากรในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.21, 95%CI: 0.10-0.32; p value<.001) จากผลการวิจัยนำไปใช้วางแผนพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้สึกพึงพอใจกับชีวิตตนเอง เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การวิเคราะห์ผลการประเมิน Happinometer กรมอนามัย. สืบค้นจาก https://psdg.anamai.moph.go.th/th/agreement01.

ขจรศักดิ์ สุขเปรม. (2565). คุณภาพชีวิต ความสุขในการทำงานต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร กรมอนามัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย.

จรัมพร โห้ลำยอง, ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และมะลิวัลย์ ขันเล็ก. (2560). งาน ครอบครัว สังคม: สมดุลชีวิตกับการทำงานที่มากกว่าการจัดสรรเวลา ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิศวกรรมสาร มก. 30(100), 87-102.

ตระกูล จิตวัฒนากร. (2564). การสร้างความสุขในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทในจังหวัดปทุมธานี. วารสารปัญญา. 28(3), 84-94.

นภัสจันท์ มงคลพันธ์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ และวิชัย มนัสศิริวิทยา. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 34(2), 87-99.

นริศรา อารีรักษ์, รักชนก น้อยอาษา, ถนอม นามวงศ์ และณัฐทฌาย์ จรรยา. (2564). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดยโสธร. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 1(2), 47-57.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ, สาธิมาน มากชูชิต และอนุชิต คลังมั่น. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทํางานกับความผูกพันในองคกรของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดยะลา.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 20(2), 48-59.

พูนศักดิ์ ศรีประพัฒน์. (2566). Work-life Balance (การสร้างสมดุลชีวิตกับการทำงาน). สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6. สืบค้นจาก https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload.

รัชนีกรณ์ ปานวงษ์, อารี ชีวเกษมสุข และเรณุการ์ ทองคำรอด. 2563. ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารพยาบาล. 69(3), 11-19.

รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์ และปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์. (2563). ความสุขของบุคลากรภายใต้บริบทองค์กรแห่งความเปลี่ยนแปลงของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 21(3), 93-102.

โรงพยาบาลจังหวัดยโสธร. (2566). รายงานสรุปผลการตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ 2565. ยโสธร.

วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และพัชรี ถุงแก้ว. (2559). ความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน: กรณีศึกษาคณะศึกษา

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์. 27(1), 113-129.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2565). รายงานการสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กรของคนทำงาน (ในองค์กร) ระดับประเทศ พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). ผลการสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) ปี 2560. นครปฐม: สถาบัน วิจัยประชากรละสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2561). รายงานประจำปี 2561. ยโสร: สำนักงานสาธารณสุข

จังหวัดยโสธร.

Best, John W. (1977). Research in Education. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J.: Prentice-Hall Inc.

Bolboacă, S.D., & Jäntschi, L. (2006). Pearson versus Spearman, Kendall's Tau correlation analysis on structure-activity relationships of biologic active compounds. Leonardo Journal of Sciences, 9, 179-200.

Cochran, W.G. (1963) Sampling Technique. 2nd Edition, John Wiley and Sons Inc., New York.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers. (pp.202-204).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-29