การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ยาปฏิชีวนะ, การใช้อย่างสมเหตุสมผล, รูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน จำนวน 382 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบคือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล คือผู้รับบริการ จำนวน 45 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน 2566 ถึง กันยายน 2566 โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่า KR-20 เท่ากับ .82 และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired Samples T- test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือ 1) พัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต. ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 2) สร้างการรับรู้แก่ประชาชน 3) สร้างเครือข่ายการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน 4) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในชุมชน 5) จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขการในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในสถานพยาบาล และ 6) กระตุ้นเตือนโดยโทรศัพท์ 2. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอศรีเมืองใหม่ พบว่าหลังการพัฒนารูปแบบฯ จำนวน รพ.สต. ที่มีอัตราการใช้ยาในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ≤ร้อยละ 20 เพิ่มขึ้นเป็น 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.47 และอัตราการใช้ยาในโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ ≤ร้อยละ 20 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.78 หลังการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001)
References
กานนท์ อังคณาวิศัลย์ และคณะ. (2554). ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2554. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3), 374-381.
กัณฐนวรรธน์ รอนณรงค์. (2564). ผลการดำเนินงานและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับจังหวัดของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 41(1), 58-67.
กองสุขศึกษา. (2562). การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2559). สถานการณ์การใช้ยาสมเหตุผลสภาพปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นจาก
https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages
ดวงดาว อรัญวาสนา, ลักษณี ยศราวาส และ ผดุงศิษฏ์ ชํานาญบริรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเกิ้งอําเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(1),49-57.
ภาณุมาศ ภูมาศ และคณะ. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐศาสตร์ จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3), 352-360.
โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่. (2566). สรุปผลการนิเทศงานเภสัชกรรม เครือข่ายโรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ ปี 2566. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่.
วิลาวัณย์ อุ่นเรือน และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2558). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในอาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด ท้องร่วง. วารสารวิจัยสถาบัน มข, 3(3), 221-232.
ศรีกัญญา ชุณหวิกสิต. (2561). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ในศูนย์บริการสุขภาพชุมชนตลาดดอนนก เครือข่าย รพ.สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต, 11(32), 783-790.
ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพตามเขตสุขภาพ เดือน ม.ค.-ธ.ค. 2564. ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สืบค้นจาก http://narst.dmsc.moph.go.th
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). สรุปผลการนิเทศงานเภสัชกรรม 2565. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.
อัปสร บุญยัง และรุ่งทิวา หมื่นปา. (2561). ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเกสัชกรรมไทย, 11(1), 105-118.
Green, L and Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. 4th Edition, McGraw Hill, New York.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
O’Neill J. (2014). Review on antimicrobial resistance. Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations.
World Health Organization. (1987). The rational use of drugs: Report of the conference of experts, Nairobi, 25-29 November 1985. Geneva: Albany: World Health Organization.
World Health Organization. (2014). Antimicrobial resistance: global report on surveillance. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี