การวิจัยแบบผสมผสานปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, ความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 420 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามโดยการสำรวจ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสถิติไคว์แสควร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ระดับความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปางอยู่ในระดับดี (76.61%) ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพ ได้แก่ อายุมีความสัมพันธ์ทางสถิติต่อระดับความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยด้านรายได้การประกอบอาชีพ และโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพ (p<.05) ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ สถานภาพ และระดับการศึกษาไม่ได้มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่วิเคราะห์แก่นสาระสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เช่น ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความภาคภูมิใจในการดำเนินชีวิต และสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลรอบข้าง มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุ
ดังนั้นการส่งเสริมด้านสุขภาพทางกาย ใจ สังคม รวมถึงการดำรงชีวิตจะมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งจากปัจจัยตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมอันจะช่วยให้ผู้สูงอายุอาศัยในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขในชีวิตยามบั้นปลาย
References
เกษมณี นบน้อม, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, ภัทรพล โพนไพรสันต์ และสุไวย์รินทร์ ศรีชัย. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในเขตตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(4), 65-84.
กฤษฎา เจริญรื่น. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 3(2), 1-13.
กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา และสยัมภู ใสทา. (2564). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชาก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17(1), 52-63.
จารุวรรณ ศรีภักดี และปัทพร สุคนธมาน. (2560). ความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจของสตรีไทยวัยสูงอายุ. วารสารประชากรศาสตร์, 33(2), 55-80.
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล และศรินญา เพ็งสุก. (2559). การจัดการเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 1(1), 1-11.
นิวัติ ไชยแสง และอุบลทิพย์ ไชยแสง. (2021). การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุเทศบาลนคร ยะลา จังหวัดยะลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 43(3), 139-153.
ปัทมา ภูมิพัฒน์ผล และบุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2564). รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพชองผู้สูงอายุ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 649-661.
พงศพัฒน์ ตาโน, ธันภัทร โคตรสิงห์, ดุจเดือน พันธุมนาวิน และดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2566). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จวัยชราเชิงพุทธของผู้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ในจังหวัดเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(6), 2443-2453.
วิภานันท์ ม่วงสกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังด้วยแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารวิจัยสังคม, 38(2), 93-112.
วิไลวรรณ อิศรเดช. (2565). ผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 147-161.
วีรยุทธ คำแก้ว และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2564). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุเขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(1), 15-28.
ศุทธิดา ชวนวัน, กัญญา อภิพรชัยสกุล, กาญจนา เทียนลาย และภัทราพร ตาสิงห์. (2561). โครงการ “การดูแลผู้สูงอายในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน”: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สุภาภรณ์ พันธอัถต์, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และศุภชัย ปิติกุลตัง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(1), S6-S13.
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนยุทธศาตร์ความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=main/index/
อุษา จูฑะสุวรรณศิริ. (2565). ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏรับใช้สังคม, 8(2), 111-126.
อุไรวรรณ อมรนิมิตร, ณัฐสินี แสนสุข และธนูศักดิ์ รังสีพรหม. (2565). การศึกษาความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์, 11(1), 116-127.
Arena, R., Lavie, C. J., & HL-PIVOT Network. (2021). The global path forward - Healthy living for pandemic event protection (HL-PIVOT). Progress in Cardiovascular Diseases, 64, 96-101.
Al-Hanawai, M.K., Angawi, K., Alshareef, N., Qattan, A.M., Helmy, H. Z., Abudawood, Y., & Alsharqi, O. (2020). Knowledge, attitude and practice toward Covid-19 among the public in the Kingdom of Saudi Arabia: A cross-sectional study. Frontiers in public health, 8, 217.
Chen, X., Maguire, B., Brodaty, H., & O’Leary, F. (2019). Dietary patterns and cognitive health in older adults: A systematic review. Journal of Alzheimer’s Disease, 67(2), 583-619.
Ciolek, C.H., & Lee, S.Y. (2019). Cognitive issues in the older adult. Guccione’s geriatric physical Therapy E-book, 425.
Gurung, U.N., Sampath, H., Soohinda, G., & Dutta, S. (2019). Self-esteem as a protective factor against adolescent psychopathology in the face of stressful life events. Journal of Indian Association for Child and Adolescent Mental Health, 15(2), 34-54.
Haider, N., Yavlinsky, A., Chang, Y.M., Hasan, M.N., Benfield, C., Osman, A.Y., et al. (2020). The global health security, index and joint external evaluation score for health preparedness are not correlated with countries COVID-19 detection response time and mortality outcome. Epidemiology and infection, 148, e210.
Hertzog, C., Kramer, A.F., Wilson, R.S., & Lindenberger, U. (2008). Enrichment effects on adult cognitive development: Can the functional capacity of older adults be preserved and enhanced. Psychological Science in the Public interest, 9(1), 1-65.
Huang, X., Liu, J., & Bo, A. (2020). Living arrangements and quality of life among older adults in China: dose social cohesion matter. Aging & Mental Health, 24(12), 2053-2062.
McDonald, B., Scharf, T., & Walsh, K. (2023). Older people’s lived experience and the world health organization age-friendly policy framework: A critical examination of an age-friendly country program in Ireland. Aging & Society, 43(8), 1784-1809.
Muichler, J., Velasco Roldan, N., & Li, Y. (2020). Living below the line: Racial and ethic disparities in economic security among older American, 2020.
Oliveira, A.A.D., Nossa, P. N. M. D. S., & Mota Pinto, A. (2019). Assessing functional capacity and factors determining functional decline in the elderly: A cross-sectional study. Acta Medica Portuguesa, 32(10), 654-660.
United Nations Population Found. (2017) Aging. Retrieved from https://www.un.org/humansecurity/wp-content/uploads/2017/10/h2.pdf.
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (UNDP). (2021).
World population aging 2020 highlights. New York: United Nations.
World Health Organization. (2017). Thailand: WHO statistical profile. Retrieved from https://www.who.int/gho/countries/tha.pdf?ua=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี