ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ นันตาดี กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง
  • ยงยุทธ แก้วเต็ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://orcid.org/0000-0001-9217-8356

คำสำคัญ:

โปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     

งานวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะหกล้มและมีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มจำนวน 44 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ พฤติกรรม และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันด้วยสถิติ Paired sample t-test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60-70 ปี ร้อยละ 84.09 มีประวัติการหกล้ม ร้อยละ 43.20  โดยในรอบ 6 เดือนที่อยู่ในช่วงการประเมินเคยมีประวัติหกล้ม 2 ครั้ง ขึ้นไป ร้อยละ 34.10 ส่วนใหญ่หกล้มภายนอกบ้านเวลากลางวัน ร้อยละ 27.30 มีสาเหตุเพราะมีสิ่งของกีดขวางทางเดิน ร้อยละ 20.50 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพลัดตกหกล้ม พบว่าความรู้และพฤติกรรมของผู้สูงอายุในรายข้อเพิ่มสูงขึ้น โดยด้านความรู้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านการมองเห็น ด้านการทรงตัว หรือการอยู่ในบริเวณที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย ส่วนด้านพฤติกรรม ได้แก่ การออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเก็บอุปกรณ์ภายในบ้านอย่างเป็นระเบียบ และการระมัดตัวเมื่อต้องเดินภายในบ้านที่มีทางต่างระดับหรือที่มีความสว่างน้อยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และความเสี่ยงในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และความเสี่ยงต่อการหกล้มหลังเข้ารับโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ดังนั้นควรนำโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มไปใช้ในการส่งเสริมและดูแลผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กาญจนา พิบูลย์, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, พวงทอง อินใจ และมยุรี พิทักษ์ศิลป์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

คมสันต์ อันภักดี และสุพัฒน์ อาสนะ. (2566). การรับรู้ ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก,10(2), 94-107.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2559). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีรภัทร อัตวินิจตระการ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 288-298.

นงลักษณ์ อุตตะกะ. (2565). ผลการทดลองใช้โปรแกรมให้ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเซกาอำเภอเซกาจังหวัดบึงกาฬ. ชัยภูมิเวชสาร, 42(1), 75-87.

ปริศนา รถสีดา. (2561) การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 15-25.

ไพโรจน์ เจริญวัฒนากุล, ศิริพร ศิริวัฒนากุล, และศิริวรรณ เจริญวัฒนากุล. (2561). ปัญหาโรคกระดูกและข้อในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(3), 644-653.

โรงพยาบาลเถิน. (2564). สถิติข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม ประจำปี 2564. ลำปาง: โรงพยาบาลเถิน.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: สินทวีการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย พ.ศ. 2556-2573. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กระทรวงสาธารณสุข: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง และอรทัย ยินดี. (2564). การศึกษาความเสี่ยงความกลัวการหกล้มและแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ. วชิรสารการพยาบาล, 23(2), 30-43

อริสา หาญเตชะ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในบริเวณบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

Best, J. (1977). Research in education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1981). Evaluation to improve learning. New York: McGraw-Hill.

Centers for Disease Control and Prevention. (2006). Falls among older adults: An overview. Journal of the American Geriatrics Society, 54(11), 1687-1694.

Lee, H. C., Chang, K. C., Tsauo, J. Y., Hung, J. W., Huang, Y. C., Lin, S. I. (2013). Effects of a multifactorial fall prevention program on fall incidence and physical function in community-dwelling older adults with risk of falls. Archives of physical medicine and rehabilitation, 94(4), 606–615.e1.

Lyons, A., Adams, R. J., Titler, N. (2005). The effects of music on anxiety and pain in children and adolescents: A systematic review. Journal of Pediatric Nursing, 20(5),311-326.

Papalia, G. F., Papalia, R., Diaz Balzani, L. A., Torre, G., Zampogna, B., Vasta, S., et al. (2020). The Effects of Physical Exercise on Balance and Prevention of Falls in Older People: A Systematic Review and Meta-Analysis. Journal of clinical medicine, 9(8), 2595.

Pereira, D., Peleteiro, B., Araújo, J., Branco, J., Santos, R. A., Ramos, E. (2011). The effect of osteoarthritis definition on prevalence and incidence estimates: a systematic review. Osteoarthritis and Cartilage, 19(11), 1270–1285.

World Health Organization. (2022). Musculoskeletal conditions factsheet. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/musculoskeletal-conditions.

World Health Organization Falls Risk Factors. (2022). Falls. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls

Zhang, X., Wang, Y., Zhang, X., Zhang, J. (2010). The impact of joint degeneration on morbidity and healthcare utilization: A systematic review. Journal of the American Geriatrics Society, 58(12), 2483-2492.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21