ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ จิตต์สาคร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิภา เอี่ยมสำอางค์ จารามิลโล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัชร์นันท์ วิวรากานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคโควิด 19, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรบรู้สมรรถนะแห่งตนและระดับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 409  คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้สูงอายุ โดยมีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  

ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =4.55, S.D.=0.42) และมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=4.48, S.D.=0.34) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (r=0.49, p< 0.01) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ (r=0.45) ด้านการได้รับประสบการณ์จากตัวแบบ (r=0.42) ด้านการกระตุ้นอารมณ์ (r=0.40) และด้านการชักจูงโดยใช้คำพูด (r=0.39) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนตามลำดับ ดังนั้นควรส่งเสริมในด้านการประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลตนเองมากขึ้น ซึ่งทำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19

References

กรมการแพทย์. (2563). แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19. สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach /25630406112904AM

จิตรานุช เขียวทิพย์. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 8(2), 522-533.

ชํานาญดี ชนินาถ. (2565). ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19. [วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย]. (Chula ETD). 6176. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th /chulaetd/6176

ชัยณัฐ สุรพิชญ์พงศ์ และสุชัย สุรพิชญ์พงศ์. (2564). การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19): แนวคิดและแนวทางปฏิบัติ, วารสารจิตวิทยา, 19(1), 68-88.

ฐิติกร โภชน์เจริญ และวิทญา ตันอารีย์. (2566). พฤติกรรมการจัดการสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีชุมชน. 1(3), 12-24.

ณรงค์วิชญ์ คำรังษีร และสมชาย จาดศรี. (2565). ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้สูงอายุ ภาวะข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย, วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(2), 98-110.

ดารารัตน์ พูลศรี, อรสา หิรัฐรวง และวัชราภรณ์ ฉุนแสนดี. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 ของผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งตาล ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา, 1(2), 1-10.

นงศ์ณพัชร์ มณีอินทร์ และอิทธิพล ดวงจินดา. (2564). การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 1-18.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย.

ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริม สมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549-567.

ประไพวรรณ ด้านประดิษฐ์. (2566). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ผู้สูงอายุเบาหวาน. วชิรสารการพยาบาล, 25(1), 26-38.

พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2565). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค Covid-19. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 145-159.

พิมพิภา ทิหวาย, อนัญญา ประดิษฐปรีชา และกุลธิดา บรรจงศิริ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งของประชาชน ในเขตเทศบาลนครแม่สอด ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด19. วารสารศูนย์อนามัย, 9(17), 842-855.

พินิดา จิวะไพศาลพงศ์, วลัยนารี พรมลา, จิฬาวัจน์ เลิกนอก, กิตติมาพร โลกาวิทยย์ และพัชรียา สีห์จักร. (2564). พฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าในการป้องกันโควิด-19 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการสถาบันการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(12), 650-659.

ยุพเรศ พญาพรหม. (2562). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 386-406.

รัศมี เกตุธานี, จิราภรณ์ ผ่องวิไล, กมลวรรณ จันทร์เดช, กชณากาญ ดวงมาตย์พล และวุฒิชัย โยตา. (2566). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 7(14), 64-80.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, ชุติมา สร้อยนาค, พัชราภรณ์ ไหวคิด, ปริศนา อัครธนพล, วิภาพร สร้อยแสง และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.

วัชชราวุธ แก้วเกตุ. (2566). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์, วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 269-279.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว, กรรวษา จันทศิลป์, ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, ทรงสุดา หมื่นไธสง, จงลักษณ์ ทวีแก้ว, ณัฐวุฒิ สุริยะ และคณะ. (2566). บทเรียนการจัดระบบบริการตติยภูมิในภาวะวิกฤติโควิด-19 พื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(3), 473-489.

สุปราณี แตงวงษ์, ศากุล ช่างไม้ และศิรเมศร์ โภโค. (2565). พฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด19 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 71(2), 57-63.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2565). จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://lpg.hdc.moph.go.th/ hdc/reports/ report.php?source=pformated/format1.php&cat_id

กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

Bandura A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Duan Y, Shang B, Liang W, Lin Z, Hu C, Baker JS & He J. (2022). Predicting hand washing mask wearing and social distancing behaviors among older adults during the Covid-19 pandemics: An integrated social cognition model. BMC Geriatrics, 22(1), 91.

Khonzanatuha F, Setiyani, R & Kusumawardani LH. (2023). Predictors of Covid-19 related health literacy among older people living in rural areas of Indonesia. Investigacion Educacion Enfermeria, 41(2), e13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28