การศึกษาประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบ ดี-เฟส ที่มีต่อผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่า ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กันตา นิ่มทัศนศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • อารียา บัวบุญเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ยาพอกดูดพิษ, ประสิทธิผล, โรคข้อเข้าเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส ที่มีต่อการบรรเทาความปวดของผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าจำนวน 30 คน จัดหน่วยตัวอย่างเข้ากลุ่มแบบสุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม เป็นกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินระดับความปวดแบบภาพใบหน้า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 แบบประเมินโรคข้อเสื่อมของมหาวิทยาลัยออนตาริโอตะวันตกและมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (WOMAC) ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วย 3 หมวดอาการของข้อเข่า ได้แก่ หมวดความปวด  หมวดความฝืดแข็ง และหมวดการทำงานของร่างกาย มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบครอนบาคเท่ากับ .97 และยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟสที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 2 สูตร ดำเนินการวิจัยโดยกลุ่มตัวอย่างเข้ารับการรักษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวม 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการรักษาภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ Paired samples t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ One-way ANOVA with post-hoc analysis (Bonferroni) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยจากการประเมินด้วยแบบประเมินระดับความปวดแบบภาพใบหน้าเท่ากับ 1.68 และค่าเฉลี่ยจากการประเมินด้วยแบบประเมิน WOMAC เท่ากับ 3.35 ความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจากการประเมินด้วยแบบประเมินทั้ง 2 ชุด อยู่ในระดับปวดเล็กน้อย ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีระดับความปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดจากการประเมินด้วยแบบประเมิน FPS และ WOMAC ทั้งก่อนและหลังการทดลอง น้อยที่สุด รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 อาจสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส ในการลดหรือบรรเทาระดับความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยในครั้งนี้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ข้อเข่าเสื่อม. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. นนทบุรี: ซีจี ทูล.

กันตา นิ่มทัศนศิริ. (2562). การพัฒนาตำรับยาพอกดูดพิษในรูปดีเฟส (Development of toxic reducing paste in D-phase form) (รายงานวิจัย). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

กัมมันต์ พันธุมจินดา และจิตร สิทธีอมร. (2566.). Clinical trials. สืบค้นจาก http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re9.htm

เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ, วินัย สยอวรรณ, วรายุส คตวงค์, ณัฐสุดา แก้ววิเศษ และอิศรา ศิรมณีรัตน์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกสูตรที่ 1 กับยาพอกสูตรที่ 2 ต่ออาการปวดเข่าและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 11(1), 64-72.

ชายศักดิ์ ถนนแก้ว, ภคพร เรืองศรีใส, ดลลญา คงเจริญ, จิราภรณ์ ศรีเพ็ชร์ และชานน วรสันต์. (2564). การศึกษาประสิทธิผลหัตถการพอกเข่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เอกสารประกอบการประกวดผลงานวิชาการ ด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ขมิ้นชัน ต้านอาการอักเสบ ทางเลือกรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-382765

ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุก, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์ และกิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2560). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(1), 104-111.

ภรณี อัครสุต สุรศักดิ์ ลิ้มสุวรรณ และกรกช วิจิตรสงวน เจ็ดวรรณะ. (2563). การเปรียบเทียบผลของตำรับยาจับโปงแห้งเข่ากับเจลพริกในการเสริมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 270-280.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต. (2565). ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. Profile โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบการประเมิน รพ.สต. ติดดาว จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ 2565. ราชบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต.

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4. (2565). เสียงในข้อ…กำลังบอกอะไรคุณ?. กระดูกและข้อ. ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ. สืบค้นจาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/กระดูกและข้อ/เสียงในข้อ…%E0%B8%81กำลังบอกอะไรคุณ

วรรณดี ชิตเจริญธรรม. (2563). บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร. สืบค้นจาก https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ttm/oa/.

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2551). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและป้องกัน. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิซซิ่ง.

American Heart Association. (2023). Body Mass Index (BMI) In Adults. Retrieved from https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/losing-weight/bmi-in-adults.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Kuptniratsaikul, V. & Manee Rattanachaiyanont. (2007). Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clinical Rheumatol, 26(10), 1641–1645.

McCaffery. M., Beebe, A. (1989). Pain: Clinical manual for nursing practice. St. Louis, MO: The C.V. Mosby Co.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-25