ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้ง และอดอาหารบางช่วงเวลาในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนมัธยมในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ เย็นบุญธรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศษสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฉลองรัฐ ทองกันทา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการบริโภค, อาหารพร่องแป้ง, อดอาหารบางช่วงเวลา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้งและอดอาหารบางช่วงเวลา 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน ตามตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล ประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 134 คน เครื่องมือคือแบบแบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล ประเมินความรู้  ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้งและอดอาหารบางช่วงเวลา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test และ One-way ANOVAผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.70 ช่วงอายุ 17-18 ปี ร้อยละ 60.00 ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับดี (X=0.61, S.D.=0.41) ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (X =2.89, S.D.=0.41)  พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับต้องปรับปรุงแก้ไข (X=1.61, S.D.=0.45) และผลการวิเคราะห์ลักษณะส่วนบุคคลน้ำหนักตัวเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.049 ข้อเสนอแนะควรแก้ไขทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ธนศักดิ์ ยิ้มเกิด. (2563). กินบ้าง อดบ้าง สุขภาพดี ไม่มีป่วย. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2564). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: วี อินดี้ ดีไซน์.

Anton, S. D., Moehl, K., Donahoo, W. T., Marosi, K., Lee, S. A., Mainous, A. G., et al. (2018). Flipping the metabolic switch: Understanding and applying the health benefits of fasting. Obesity, 26(2), 254–268.

Feinleib, M. (1981). Seven countries: a multivariate analysis of death and coronary heart disease. The Journal of the American Medical Association, 245(5), 511–512.

Feinman, R. D., Pogozelski, W. K., Astrup, A., Bernstein, R. K., Fine, E. J., Westman, E. C., et al. (2015). Dietary carbohydrate restriction as the first approach in diabetes management: critical review and evidence base. Nutrition, 31(1), 1-13.

Trexler, E. T., Smith-Ryan, A. E. & Norton, L. E. (2014). Metabolic adaptation to weight loss: implications for the athlete. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 11(7), 1-7.

Davis, W. (2019). Wheat belly (revised and expanded edition): lose the wheat, lose the weight, and find your path back to health. New York, NY: Rodale.

World Health Organization. (2017). Obesity. Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/eng.pdf.

World Health Organization. (2021). The defeat-NCD partnership annual report 2021. Geneva, Switzerland: The Defeat-NCD Partnership.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-04