การพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กโดยใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย

ผู้แต่ง

  • เตชภณ ทองเติม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • ขนิษฐา ฉิมพาลี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • จีรนันท์ แก้วมา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

สมรรถภาพทางกาย, แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย, การละเล่นพื้นบ้านไทย, เด็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย และประเมินคุณภาพของแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาทดลองเป็นเด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 35 คน ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษา คณะผู้วิจัยได้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 1 แบบทดสอบ ซึ่งประกอบด้วยรายการทดสอบ จำนวน 9 รายการ ได้แก่ รายการทดสอบ 1) รถไถนา 10 เมตร 2) กระโดดกบ 10 เมตร 3) กระโดดยาง 2 นาที 4) เป่ายาง 5) ลิงชิงหลัก 6) กล้วยตาก 7) กระโดดกระต่ายขาเดียว 2 ครั้ง 8) ขว้างลิง และ 9) ดัชนีมวลกาย โดยทุกรายการทดสอบมีผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ระยะที่ 2 เพื่อประเมินคุณภาพของแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 60 คน ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพของแบบทดสอบ ดังนี้ ประเมินความเที่ยงตรงเชิงสภาพ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระหว่างผลการทดสอบในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กับผลการทดสอบในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐาน กำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ p-value <.05 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้ประเมินด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ ระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นจากแบบจำลอง ICC(3,1) และ ประเมินความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกต โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นจากแบบจำลอง ICC(3,K) ผลการศึกษาพบว่า แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพระหว่าง 0.60-0.79 ค่าความน่าเชื่อถือของผู้ประเมิน ระหว่าง 0.69-0.90 และค่าความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกตระหว่าง 0.80-0.92

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แบบทดสอบและเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับประถมศึกษา (อายุ 7-12 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จิณห์จุฑา พานทอง ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล และนิรอมลี มะกาเจ. (2566). การประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านที่ส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 49(2), 1-9.

ทศพล ทองเติม. (2553). การพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อวัดความอ่อนตัวสำหรับผู้สูงวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (สหสาขาวิชา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

มนตรี จั่นมา. (2563). ผลของโปรแกรมการละเล่นกระโดดยางที่มีต่อสมรรถภาพทางกายในเด็กอายุ 10-12 ปี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 368-378.

โรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม). (2564). รายงานสถิตินักเรียนโรงเรียนบ้านส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2563. ศรีสะเกษ: โรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม).

โรม วงศ์ประเสริฐ. (2558). การสร้างเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางกายโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ระดับปฐมวัย และประถมศึกษา). วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 66-78.

สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). การละเล่นพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย. กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สุทัตพงศ์ อัปมาโน และสมทรง สิทธิ. (2564). การพัฒนาความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 250-261.

Bushman, B, A. (2011). ACSM's complete guide to fitness & health. United Kingdom: Human knetic.

Cavill, N., Kahlimeier, S., & Racioppi, F. (2006). Physical activity and health health in Europe: evidence for action. World Health Organization: Regional Office for Europe.

Hinkle, D.E., Wiersma, W., & Jurs, S.G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. MA: Houghton Mifflin Company.

Koo, T.K & Li, M.Y. (2016). A Guideline of selecting and reporting intraclass correlation coefficients for reliability research. Journal of Chiropractic Medicine, 2016(2), 155-163.

Marques, A, et al, (2021). Regular physical activity eliminates the harmful association of television watching with multimorbidity. A cross-sectional study from the European Social Survey. Preventive Medicine, 109(April2018), 28-33.

Rovinelli, R.J & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Shrout, P.E. & Fleiss, J.L. (1979). Intraclass correlations: Uses in assessing rater reliability. Psychological Bulletin, 86(2), 420-428.

World Health Organization. (2010). Global recommendations on physical activity for health. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241599979

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18