การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ

ผู้แต่ง

  • ประภาพร สุวรัตน์ชัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • นุสรา วิชญ์โกวิทเทน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • สุปัญญา ทักขะทิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • ปรีชา ศรีบุญเรือง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉิน, บาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ, ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ  มี 3 ระยะคือ 1) สำรวจ สภาพปัญหา อุปสรรค และความต้องการการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ อิงแนวคิดของซูคัพ และ 3) ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 22 คน และ 20 คนตามลำดับ และ พยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการใช้แนวปฏิบัติฯและอัตราการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ใช้ Chi Square test Logistics Regression วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา อุปสรรค และความต้องการการพยาบาลฉุกเฉินคือภาวะช็อกที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สัมพันธ์กับการเสียชีวิต OR 7.37 (95% CI 2.37-22.96) แนวปฏิบัติฯที่ใช้ มี 6 หมวด ผ่านเกณฑ์ AGREE II ทุกด้าน (75.6-88.4%) ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ระดับมาก และ ประเมินประสิทธิภาพ พบความพึงพอใจพยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ระดับสูงและประเมินผลลัพธ์เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน พบว่าก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ 22.7% และ10.0% ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.269)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). นโยบายมุ่งเน้นประจำปี 2566. สืบค้นจาก https://spd.moph.go.th/2023-focus-policy/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/9127

จิราวรรณ นาคะปักษิณ. 2565. การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:165286.

ฉวีวรรณ ธงชัย. (2548). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล, 20(2), 63-76.

ฉวีวรรณ ธงชัย และพิกุล นันทชัยพันธ์. (2547). แบบสำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย และนงลักษณ์ พลแสน. (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 33(2), 165-177.

นิษา ถนัดค้า และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ (2562).ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3),69-78.

ประภัสสร โพธิดอกไม้. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล สําหรับการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลหนองหาน. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(2), 27-39.

พิมล ปัสนิตย์. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางพยาบาลในการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุช่องทางเร่งด่วน (Trauma Fast Track) งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 4(3), 30-39.

รัตนา พรหมบุตร, จีราวรรณ พญารัง และวรรวิสา นาวาสมุทร. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้บาดเจ็บเพื่อลดภาวะเสี่ยงการตกเลือดจากการบาดเจ็บช่องท้อง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 46-58.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางการรักษาพยาบาลด้านศัลยกรร. สืบค้นจาก https://www.rcst.or.th/th/clinical-practice-guidelines/

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. (2564). รายงานการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บอาการหนัก.

วัชชรีภรณ์ รัตรสาร, ณัฐกานต์ บุญโก่ง, และปิติวดี กิ่งมณี. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(3), 707-718.

ศศิธร ชำนาญผล, ประภาพร สุวรัตน์ชัย, นภดล คำเติม, และสุปียา สืบศรี. (2563). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยอุบัติเหตุวิกฤตที่มีภาวะช็อก.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 29(2), 43-54.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of guideline for research & evaluation II: AGREE II). นนทบุรี: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด.

สุวรัตน์ ภู่เพ็ง. (2565). ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในงานอุบัติหตุและฉุกเฉิน. กระบี่เวชสาร, 5(1), 27-39.

อรทัย สืบกินร และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2561). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ในผู้ป่วยวิกฤตอุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 208-217.

American College of Surgeons. (2018). Advanced trauma life support student course manual. (10th ed).

American College of Surgeons. Retrieved from https://www.emergencymedicinekenya.org/wp-content/uploads/2021/09/ATLS-10th-Edition.pdf

Kassiani Nikolopoulou. (2022). What Is the hawthorne effect? | Definition & Examples. Retrieved from https://www.scribbr.com/research-bias/hawthorne-effect/

Lozano, R., Naghavi, M., Foreman, K., Lim, S., Shibuya, K., Aboyans, V., Remuzzi, G. (2012). Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010. The Lancet, 380(9859), 2095-2128.

Rossaint, R., Afshari, A., Bouillon, B. et al. (2023). The European guideline on management of major bleeding and coagulopathy following trauma: sixth edition. Crit Care 27, 80.

Soukup, S. M. (2000). Evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. In S. M. Soukup & C. F. Beason (Eds). Nursing Clinic of North America. (pp.301-309). Philadelphia: W. B. Saunders.

The AGREE Collaboration. (2017). Appraisal of guidelines for research & evaluation. The AGREE Next Steps Consortium.

The Joanna Briggs Institute. (2014). Joanna briggs institute reviewers’ Manual: 2014 edition. Australia: Copyright The Joanna Briggs Institute.

Vishwanathan K, Chhajwani S, Gupta A, Vaishya R. (2021). Evaluation and management of haemorrhagic shock in polytrauma: Clinical practice guidelines. Journal of Clinical Orthopaedics and Trauma, 13, 106-115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22