การศึกษาระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุกัลยา ธนกิจจารุ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชาธานี

คำสำคัญ:

โรคปากแหว่ง, โรคเพดานโหว่, ระบาดวิทยา

บทคัดย่อ

โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับสากลและระดับชาติ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ครั้งนี้เพื่อศึกษาระบาดวิทยาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ลักษณะการกระจายของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ด้วย เวลา บุคคล และวิเคราะห์ปัจจัยสัมพันธ์ของการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่จำนวน 733  คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ระหว่างปี 2549-2565 อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 20 ปี และมีข้อมูลประวัติเข้ารับการรักษาครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนประวัติการรักษา วิเคราะห์การกระจายของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคด้วยสถิติ Chi-square กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษา พบเด็กเกิดชีพเป็นปากแหว่งเพดานโหว่มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงที่สุดในปี 2550 จำนวน 377 คน (1.79 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) รองลงมาคือปี 2551 (1.70 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) และปี 2562 (1.46 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) ตามลำดับ อุบัติการณ์ของการเกิดโรคต่ำที่สุดในปี 2557 (0.75 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) การกระจายของโรคตามลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยสัมพันธ์ของการเกิดโรค พบว่า เพศ อายุครรภ์มารดาก่อนคลอด อายุบิดา อายุมารดา ลำดับการคลอด ประวัติการใช้ยาของมารดาขณะตั้งครรภ์ และลำดับบุตรมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การจัดรูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ควรมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคและสามารถป้องกันได้ รวมถึงการดูแลและช่วยเหลือเด็กแรกเกิดที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กิตติลักษณ์ จุลลัษเฐียร. (2560). ปัญหาจากภาวะปากแหว่งเพดานโหว่. สืบค้นจาก https://www.haijai.com/4130/.

นงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2558). เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล: การพยาบาลเด็กคณะพยาบาลศาสตร์ 3rd ed. กรุงเทพ: พรีชวันการพิมพ์

นฏกร อิตุพร, อมรรัตน์ รัตนสิริ, ฐิติมา นุตราวงศ์, กุลฑลี บุญประเสริฐ, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, ทัศนีย์ ณ พิกุล. (2562). อัตราความชุกของความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(2), 169-172.

พรพัฒน์ ธีรโสภณ, วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล. (2562). ประวัติศาสตร์แนวคิดทางสังคม และอุบัติการณ์ของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่. วารสารออนไลน์ทันตจัดฟัน, 9(2), 26-32.

มารศรี ชัยวรวิทย์กุล. (2555). อุบัติการณ์ สาเหตุการป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่. เชียงใหม่ทันต แพทยสาร, 33, 45-55.

ศิวกร เจียรนัย, สุกัญญา เธียรวัฒน์. (2563). ระบาดวิทยาของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม จาก พ.ศ. 2501 ถึง ปัจจุบัน. วิทยาสารออนไลน์ สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย, 10(2), 27-36.

สิริธิดา พงษ์สุพจน์, วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล. (2562). สาเหตุของการเกิดปากแห่วงเพดานโหว่. วารสารออนไลน์ทันตจัดฟัน, 9(2): 41-49.

อัมพร เดชพิทักษ์, รักชนก นุชพ่วง, ณัฐกานต์ เย็นสม. (2563). อุบัติการณ์ปากแห่งและหรือเพดานโหว่ในเด็กเกิดมีชีพจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2558-2562. วารสารทันตสาธารณสุข, 25, 41-49.

Allam E, Windsor L. J, Stone C. (2014). Cleft lip and palate: Etiology, epidemiology, preventive and intervention strategies. Anat Physiol. 4(3):3-6.

Hay S. (1967). Incidence of clefts and parental age. Cleft Palate Journal, 4(3), 205-213.

Kling, R. R., Taub, P. J., Ye, X., Jabs, E. W. (2014). Oral clefting in China over the last decade: 205,679 patients. Plastic and Reconstructive Surgery Global Open, 2(10), e236.

Lei, R. L., Chen, H. S., Huang, B. Y., Chen, Y. C., Chen, P. K., Lee, H. Y., et al. (2013). Population-based study of birth prevalence and factors associated with cleft lip and/or palate in Taiwan 2002-2009. PloS ONE, 8(3), e58690.

Martelli, D. R., Coletta, R. D., Oliveira, E. A., Swerts, M. S., Rodrigues, L. A., Oliveira, M. C., et al. (2015). Association between maternal smoking, gender, and cleft lip and palate. Brazilian Journal of Otorhinolaryngology, 81(5), 514–519.

Mossey, P. A., Modell, B. (2012). Epidemiology of oral clefts 2012: an international perspective. Cleft lip and palate, 16, 1-18.

Mossey, P. A., Catilla, E. E. (2003). Global registry and database on craniofacial anomalies: report of a WHO Registry Meeting on Craniofacial Anomalies. Retrieved from https://iris.who.int/handle/10665/42840

Ofori B, Oraichi D, Blais L, Rey E, Berard A. (2006). Risk of congenital anomalies in pregnant users of non-steroidal anti-inflammatory drugs: a nested case-control study. Birth Defects Research Part B Developmental and Reproductive Toxicology, 77(4), 268-279.

Prathanee, B., Thanawirattananit, P., Thanaviratananich, S. (2013). Speech, language, voice, resonance and hearing disorders in patients with cleft lip and palate. Journal of the Medical Association of Thailand, 96(4), S71-S80.

Saxen, I. (1974). Cleft lip and palate in Finland: parental histories, course of pregnancy and selected environmental factors. International Journal of Epidemiology, 3(3), 263-270.

Shaw, G. M., Croen, L. A., Curry, C. J. (1991). Isolated oral cleft malformations: associations with maternal and infant characteristics in a California population. Teratology, 43(3), 225-228.

Thohinung, U., Prathanee, B. (2016). Caregivers’ role in caring for children with cleft lip-palate in mobile speech camp. Journal of the Medical Association of Thailand, 99(5), S21-8.

Van Dyck, J., Cadenas de Llano-Pérula, M., Willems, G., Verdonck, A. (2019). Dental development in cleft lip and palate patients: A systematic review. Forensic Science International, 300, 63-74.

Womersley, J., Stone, D.H. (1987). Epidemiology of facial clefts. Archives of disease in childhood, 62(7), 717-720.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-16