การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ไฉไล ช่างดำ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • บุญเกิด เชื้อธรรม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งปฏิกูล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, CIPP Model

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการจัดการสิ่งปฏิกูล 2) ศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และ 3) ประเมินความพึงพอใจการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ประยุกต์ใช้ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 45 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี 1) การกำหนดเป็นนโยบายของเขตสุขภาพและจังหวัด 2) การขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด 3) การสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน 4) การกำกับติดตามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านบริบท ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 97.07 มีผู้รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 64.49 ด้านปัจจัยนำเข้า ทุกจังหวัดมีนโยบายการจัดการสิ่งปฏิกูลอำเภอละ 1 แห่ง และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ด้านกระบวนการ มีการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในเรื่องหลักการระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรอง ( =4.55, S.D.=.596) มีความพึงพอใจระดับมากในเรื่องการมีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ ( =4.41, S.D.=.590) ด้านผลผลิตมีการจัดการสิ่งปฏิกูล 52 แห่ง ร้อยละ 7.90 ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 99.24 มีพื้นที่ต้นแบบ 5 แห่ง แสดงให้เห็นว่าการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานีทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดการสิ่งปฏิกูลได้

References

ไฉไล ช่างดำ และไกรวัลย์ มัฐผา. (2557). ประสิทธิภาพของระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรองต่อการกำจัดไข่พยาธิ. ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี.

ไฉไล ช่างดำ บุญเกิด เชื้อธรรม และสุกัญญา เชื้อธรรม. (2564). รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี.

ไพโรจน์ แสงจง. (2561). ประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอบ้านป่าบอน จังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13070?mode=full

ยุพิน รอดประพันธ์. (2561). ประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนวัดห้วยธารทหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 นครสวรรค์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 3.

วิจิตรา ทับขัน. (2559). การประเมินผลระว่างดำเนินการโครงการจัดการขยะโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเนินรถไฟเมืองพัทยา ชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สืบค้นจาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57930017

วาทินี จันทร์เจริญ และปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. (2561). การศึกษาการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิจากการตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบส้วมนำไปทิ้งในที่สาธารณะหรือเอกชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปี 2561. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น.

ศูนย์บริหารกฎหมาย กรมอนามัย. (2561). คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2562). สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี.

สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2563). รายงานการวิจัยการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ.2561-2565) ประจำปีงบประมาณ 2563. สำนักงานจังหวัดลำพูน.

สำนักงานสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สธ. เดินหน้ายุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีระยะที่ 2. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/04/112799/

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2565). การประชุมหารือแนวทางการจัดทำระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลเพื่อรองรับการจัดการสิ่งปฏิกูลในพื้นที่จังหวัดต่างๆ. ณ ห้องประชุมชิตชัยวงศ์ อาคาร 5 ชั้น 5 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2562) การประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขและแนวทางการใช้ส้วมและระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล. ห้องประชุม 209 ชั้น 2 ตึกอานันทมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2564). คู่มือเทคโนโลยีการจัดการสิ่งปฏิกูล โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois. F.E. Peacock Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-10