ประสิทธิผลของการสักยาน้ำมันต่อระดับความปวดและองศาการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
คำสำคัญ:
สักยาน้ำมัน, ปวดหลังส่วนล่าง, องศาสการเคลื่อนไหว, ลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1 หลังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสักยาน้ำมันต่อการบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีเกณฑ์คัดเข้าคืออายุระหว่าง 25-60 ปี มีอาการปวดหลังส่วนล่าง เข้ารับการรักษาที่คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าเป็นโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ กลุ่มตัวอย่างได้รับการสักยาน้ำมันหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความปวด แบบบันทึกองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ผลการวิจัยพบว่า การสักยาน้ำมันในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถลดระดับความปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบก่อนรักษากับหลังการรักษา โดย ระดับความปวดก่อนการรักษาเฉลี่ย 5.53 ระดับความปวดหลังการรักษาเฉลี่ย 0.87 องศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ในท่า Trunk flexion ก่อนการรักษาเฉลี่ยคือ 265.13 องศา องศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ในท่า Trunk flexion หลังการรักษาเฉลี่ย 284.80 องศา การสักยาน้ำมันในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถบรรเทาอาการปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงจากการรักษา งานวิจัยนี้เป็นการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และเป็นกรณีศึกษาสำหรับการวิจัยพัฒนาต่อไป
References
ประกาศคณะกรรมการหมอพื้นบ้าน เรื่อง ลักษณะ ประเภท หรือกรรมวิธีของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. (5 กันยายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 222 ง หน้า 24-29.ฃ
ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย. (15 กรกฎาคม 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 162 ง หน้า 27.
พโนมล ชมโฉม. (2566). ผลของการสักยาต่อระดับความปวดกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังตอนล่าง. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข, 1(1), 1-14.
พรพรรณ คำมา, สรรใจ แสงวิเชียร, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ธารา ชินะกาญจน์ และพีรยา อานมณี. (2565). ศึกษาประสิทธิผลการสักยาเปรียบเทียบกับการประคบสมุนไพร ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 8(1), 129-144.
พิชญาภา อินทร์พรหม, พิชญาภา อัตตโนรักษ. (2563). ผลการนวดไทยแบบราชสํานักต่อพิสัยการเคลื่อนไหวความโค้งของหลังส่วนล่าง และระดับความปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2), 130-143.
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2554). การวินิจฉัยอาการปวดหลังบนพื้นฐานข้อมูลทางสถิติ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 20(2), 37-40.
สุทธิรา ขุมกระโทกและคณะ. (2559). สักยารักษาโรค. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 14(2), 212-216.
ศูนย์การแพทย์ทางเลือก. (2565). รายงานข้อมูลสถิติการให้บริการผู้ป่วยนอกปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://thaicam.dtam.moph.go.th
อรพันธ์ อันติมานนท์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์, ธิติรัตน์ สายแปง, กมลขนก สุขอนันต์, อารีพิศ พรหมรัตน์ และพีรวิช จุลเรือง. (2559). ภาวะโรคปวดหลังในผู้ประกอบอาชีพ. วารสารควบคุมโรค, 42(2), 119-129.
Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York, NY: Routledge Academic
National Statistical Office. (2021). Number of Inpatients and outpatients from health facilities under the Ministry of Public Health Nationwide. Retrieved from http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx
Pathak, A., Sharma, S., & Jensen, M.P. (2018). The utility and validity of pain intensity rating scales for use in developing countries. Report Pains, 3(5), 1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี