การศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่: ดูแลด้วยหัวใจในยุค VUCA World

ผู้แต่ง

  • กวินลักษณ์ นาวิชิต คณะพยาบาบศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • รัชนี ศรีตะวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • นภัทร เตี๋ยอนุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

จิตสำนึกใหม่, VUCA world, การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่มีความผันผวนส่งผลกระทบต่อการศึกษาพยาบาลที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ทักษะวิชาชีพเป็นสมรรถนะหลักและทักษะทางสังคม สมรรถนะที่สำคัญในยุคการเปลี่ยนแปลง ที่นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อให้สามารถปรับตัว ยอมรับการปรับเปลี่ยน และยังคงผลลัพธ์ที่นำสู่เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ มีบทบาทในการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ การศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่ในโลกปัจจุบัน และการนำการศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่มาจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาล

การศึกษาจิตสำนึกใหม่ (Educational for a new consciousness) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะที่มุ่งเน้นการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม โดยได้นำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) ซึ่งมีปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์และมีกระบวนทัศน์องค์รวม มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง การเข้าถึงความดี ความงามและความจริงในชีวิต จึงเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความสมดุลทั้งด้านกาย ใจ และความคิด การปรับเปลี่ยนความคิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคผันผวน (VUCA World) มีกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ มิติความจริง มิติความงาม และมิติความรู้ นำสู่การวางแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่  ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่ 2) วัตถุประสงค์ของกิจกรรม  3) กิจกรรมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และ 4) การสะท้อนคิดมุ่งเน้นการพัฒนาความงามในจิตใจ  และนำไปปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนการสอน มีความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ต่อตนเองและผู้อื่น ฟังอย่างลึกซึ้ง ใคร่ครวญ ไม่ตัดสิน ตระหนักรู้ในตนเอง เรียนรู้อย่างเปิดกว้างโดยเชื่อมั่นและไว้วางใจกัน เคารพในคุณค่าของมนุษย์และให้การพยาบาลแบบองค์รวม นำสู่การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์   

References

จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล, อาชัญญา รัตนอุบล และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2562). รูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะอย่างบูรณาการขององค์กรที่มีแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 37-55.

ณัฎฐ์ภรณ์ ปัญจขันธ์, ยงยุทธ แก้วเต็ม, กานต์สิรี นาครักษ์ และจักรวาล เรณูรส. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1. วารสาร

วิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 125-138.

ประเวศ วะสี. (2552ก). จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์. ใน จารุปภา วะสี (บ.ก.). หยั่งราก : ก้าวแรกของจิตตปัญญาศึกษาในสังคมไทย.(น. 19-34). ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศ วะสี. (2552ข). มหาวิทยาลัยไทยกับจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. กรุงเทพ ฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลและแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ประเวศ วะสี. (2544). ปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของ ศ.น.พ. ประเวศ วะสี. กรุงเทพฯ: โฟร์พรินติ้ง

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). มันดาลา ศิลปะสร้างสมาธิ ช่วยเยียวยาอารมณ์. สืบค้นจาก https://www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140318.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jliwu/article/view/95054/74242

วิลาวัณย์ หงษ์นคร. (2566). ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก

https://kpi.ac.th/uploads/pdf/N4Uqa1EUL7P0DQIBekaRu4FKKnUH17dOEJOn2yxJ.pdf

ศรุดา ชัยสุวรรณ, เสน่ห์ สีตลารมณ์ และวีรจักร แสงวงศ์. (2563). การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียน. วารสารวิชาการสถานบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 686-702

สุรัสวดี จันทร์สุนทร. (2565). ปัจจัยการปรับเปลี่ยนภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความยืดหยุ่น และการปรับตัวในการทำงานของบุคลากรในธุรกิจธนาคารพาณิชย์. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4509/1/621220054.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นจาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558), แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ สํานักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 21st Century Skills ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจากhttps://secondary.obec.go.th/newweb/wp-content/uploads/2017/12/E-CEN21book.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก https://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf

อัญญา ปลดเปลื้อง, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, ชุติมา รักษ์บางแหลม และศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี. (2561). ประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลแบบให้คุณค่าความเป็นมนุษย์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 745-770.

อนิวัฒน์ ทองสีดา. (2565). แมนดาลา กิจกรรมศิลปะเพื่อการพัฒนาสมาธิและการจดจ่อ. สืบค้นจาก https://bsru.net/author/aniwat-to/

HREX.asia. (2564). VUCA ในโลกการทำงานสมัยใหม่: 4 เทคนิครับมือความไม่แน่นอนสำหรับผู้นำยุคใหม่.

สืบค้นจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/vuca-for-leader-in-future-work-03032021/.

Luft, J. & Ingham, H. (1955). The Johari window, a graphic model of interpersonal awareness.

Proceedings of the western training laboratory in group development. Los Angeles: University of California, Los Angeles.

Paterson, J. & Zderad, L. (2007). Humanistic Nursing: Meta-theoretical Essays on Practice. Retrieved from https://manybooks.net/book/140535/read#epubcfi(/6/2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23