ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยา ที่มีความเสี่ยงสูงในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • พิพัฒ เกาะแก้ว กลุ่มงานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ, ยาที่มีความเสี่ยงสูง, ผู้ป่วยหนัก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้การปฏิบัติในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพ และอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน และผู้ป่วยหนักที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า Paired t-test และ Fisher’s exact probability test

ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติความรู้เกี่ยวกับป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.0 เป็นร้อยละ 96.0 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยเพิ่มความรู้ และทักษะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงให้แก่พยาบาลวิชาชีพ และช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ

References

กลุ่มงานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. (2565). รายงานการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลําพูน ปี 2565. หอผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลําพูน

กาญจนา อุดมอัษฎาพร และมยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการ อักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำจากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 35-45.

จรีณา คงพันธุ์ และผกากรอง พันธุ์ไพโรจน์. (2563). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการปฏิบัติการพยาบาลและอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 156-169.

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของหรือสารน้ำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 169-181.

ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ. (2560). คุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย Patient safety. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.

ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. (2562). ผลของการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำจากการได้รับนอร์เอพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 92-108.

วิมลวัลย์ วโรฬาร. (2560). หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยเด็ก: การป้องกันและการดูแล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 16-28

สุรภีย์ อี๊ธงชัย, อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์ และเมธารัตน์ เยาวะ. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารกองการพยาบาล, 47(1), 25-38.

สมพร อยู่ดี. (2565). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 5(1), 62-72.

Corbett M., Marshall D., Harden M., Oddie S., Phillips R. & McGuire W. (2019). Treating extravasation injuries in infants and young children: A scoping review and survey of UK NHS practice. BMC Pediatrics, 19(1), 6-10.

Macklin D. (2017). Phlebitis: A painful complication of peripheral IV catheterization that may be prevented. The American Journal of Nursing, 103(2), 55-60.

Murphy A.D., Gilmour R.F., Coombs C.J. (2019). Extravasation injury in a pediatric population. ANZ Journal of Surgery, 89(4), 122-126.

ISMP. (2020). ISMP medication safety self-assessment for hospitals. Canada: ISMP.

Scribante N.P., Pretorius L. & Benade S. (2019). The Design of research tool for conducting research within a complex a socio-technical system. South African Journal of Industrial Engineering, 30(4), 143-155.

U.S. Department of Health and Human Services. (2018). Implementation guide to reducing harm from high-alert medications. Washington, D.C, U.S. Department of Health and Human Services.

World Health Organization. (2019). WHO patient safety curriculum guide for medical schools, part B: curriculum guide topics. Geneva, Switzerland, World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03