ผลของการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ใจรัก จำรูญรัตน์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนก่อนและหลังใช้รูปแบบ และประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ รูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกลโดยใช้ไลน์แอพลิเคชั่น ชื่อบัญชี “ศัลยกรรม รพ. ลำพูน” เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.72, 0.85 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนมีความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเองก่อนและหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=-22.638, p=.000) มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล อยู่ในระดับมากที่สุด ( X=4.33, S.D.=0.43) ดังนั้นรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกลที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยเพิ่มความสามารถของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนในการดูแลตนองได้ที่บ้านเป็นอย่างดี และสร้างความพึงพอใจต่อการได้รับบริการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล

References

กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี และนิรันดร ผานิจ. (2565). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(2), 623.-641.

พวงชมพู ประเสริฐ. (2561). ระบบบริการสาธารณสุข คนไทยเข้าถึงแต่ยังเหลื่อมล้ำ. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/edu- health/338987

พิราลักษณ์ ลาภหลาย. (2564). ผลของการใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. หอผู้ป่วยในศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.

พรรณทิพย์ ยิ้มวาสนา. (2564). ผลของโปรแกรมให้ความรู้ผ่านโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส. สถาบันโรคผิวหนัง

วิริยภรณ์ สิงห์ทองวรรณ และสุพัตรา ปวนไฝ. (2564). ผลของการพยาบาลทางไกลต่อความสามารถของผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. (2562). อัตราบุคลากรด้านสุขภาพ. สืบค้นจาก https://ict.moph.go.th/th

สุมนกาญจน์ ลาภกิตติเจริญชัย. (2563). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. วารสารกรมการแพทย์, 45(3), 42-50.

สภาการพยาบาล. (2563). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง แนวทางการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing). สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0049.PDF

สุภาพร อัศวกิจพานิช, สุมลชาติ ดวงบุบผา และอัญศินีย์ นันตะสุคนธ์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อความมั่นใจในการดูแลตนเองและภาวะแทรกซ้อนที่แผลขาหนีบในผู้ป่วยหลังทำหัตถการ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(2), 148-162.

ห้องตรวจศัลยกรรม โรงพยาบาลลําพูน. (2565). รายงานข้อมูลผู้ป่วยระบบ Telemedicine. โรงพยาบาลลําพูน

อรพรรณ คงมาลัย และวสันต์ ใจวงศ์. (2560). การยอมรับและการนำระบบโทรเวชกรรมเข้าไปใช้กับกระบวนการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล กรณีศึกษา: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 40(4), 641-650.

Nejadshafiee M., Bahaadinbeigy K., Kazemi M., Nekoei-Moghadam M. (2020). Telenursing in incidents and disasters:A systematic review of the literature. Journal of Emergency Nursing, 46(5), 611-622.

Orrange S., Patel A., Mack W.J., Cassetta J. (2021). Patient satisfaction and trust in telemedicine during the COVID-19 pandemic: Retrospective observational study. JMIR Human Factors, 8(2), 89-95.

Polit D.F. & Beck C.T. (2014). Essentials of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. New York: Lippincott Williams & Wilkins.

Ramaswamy A., Yu, M., Drangsholt S., Culligan P.J. (2020). Patient satisfaction with telemedicine during the COVID-19 pandemic: Retrospective cohort study. The Journal of Medical Research, 22(9), 76-83.

World Health Organization. (2020). Telemedicine: Opportunities and developments in Member States: Report on the second global survey on eHealth. Global Observatory for eHealth Series.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-24