ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัทร์วรินท์ ศรลัมพ์ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • ณัฐธิดา เวทนาสุข โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • รณกฤต ทีทา โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริบาลเภสัชกรรม, การติดตามการใช้ยาทางไกล, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของการทำบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกล ต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) ระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร (FBS) และความร่วมมือในการใช้ยาโดย เปรียบเทียบผลก่อนและหลัง และศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 38 คน เก็บข้อมูลจากการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 3 เดือน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกและแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกปัญหาจากการใช้ยา ตามแนวทางของ Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) เวอร์ชั่น 9.1 และแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระดับ FBS โดยใช้สถิติ paired t-test เปรียบเทียบระดับ HbA1C และคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank-test

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกล ระดับ HbA1C ลดลงจาก =9.92 (S.D.=1.61 mg%) เป็น =9.08 (S.D.=1.98 mg%) และระดับ FBS ลดลงจาก =168.00 (S.D.=41.12 mg/dl) เป็น =148.71 (S.D.=39.83 mg/dl) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003 และ p=0.022 ตามลำดับ) และผู้ป่วยมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา เพิ่มขึ้นจาก =32.29 (S.D.=7.15) เป็น =36.47 (S.D.=3.92) คะแนน (p<0.001) ปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ พบมากที่สุดคือการใช้ยาหรือบริหารยาน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง ร้อยละ 46.80 การบริบาลเภสัชกรรมและการติดตามการใช้ยาทางไกล ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ทั้งนี้การติดตามการใช้ยาทางไกลผ่านการโทรศัพท์ หรือผ่านช่องทางการสื่อสารอื่น เป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ติดตามผู้ป่วยได้โดยตรงและสามารถให้คำแนะนำและจัดการปัญหาของผู้ป่วยได้ทันที

References

กนกพรรณ นิกรเพสย์, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์. (2561). ผลการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทาง โทรศัพท์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 449–61.

กมลชนก จงวิไลเกษม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2564). การพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(1), 17-30.

กฤษฏิ์ วัฒนธรรม, ธีรพล ทิพย์พยอม, อัลจนา เฟื่องจันทร์. (2564). รูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: บทความปริทัศน์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 17(3), 1–15.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2565). จำนวนและอัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จิราวัฒน์ สุวัตธิกะ. (2566). ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลโดยประยุกต์ใช้ระบบหมอพร้อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ปากกาฉีดอินซูลิน อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข, 1(2), 122-139.

มนฑิต พูลสงวน. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 299–306.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จํากัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565). คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC). สืบค้นจาก https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

อมรพรรณ ศุภจำรูญ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. (2561). ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย: การทดสอบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 607-619.

อรุณวรรณ ต่อกร. (2565). ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 3(2), 108-116.

Choe HM, Mitrovich S, Dubay D, Hayward RA, Krein SL, Vijan S. (2005). Proactive case management of high-risk patients with type 2 diabetes mellitus by a clinical pharmacist: a randomized controlled trial. The American Journal of Managed Care, 11(4), 253-60.

Ciarambino T, Crispino P, Leto G, Mastrolorenzo E, Para O, Giordano M. (2022). Influence of gender in Diabetes Mellitus and its complication. International Journal of Molecular Sciences, 23(16), 8850.

Deas C, Stockton K. (2019). Evaluation of outcomes of a pharmacist-run, outpatient Insulin titration Telepharmacy Service. Innovations in Pharmacy, 10(2), 1-7.

Jarab AS, Alqudah SG, Mukattash TL, Shattat G, Al-Qirim T. (2012). Randomized controlled trial of clinical pharmacy management of patients with Type 2 Diabetes in an outpatient Diabetes Clinic in Jordan. Journal of Managed Care Pharmacy, 18(7), 516–26.

Nye AM. (2017). A clinical pharmacist in telehealth team care for rural patients with Diabetes. North Carolina Medical Journal, 78(3), 183–4.

Pharmaceutical Care Network Europe. (2020). PCNE classification for drug related problems V 9-1. Retrieved from https://www.pcne.org/upload/files/417_PCNE_classification_V9-1_final.pdf

World Health Organization. (2023). Diabetes: key facts. Geneva: Retrieved from. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02