ผลการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามบานบุรีสังกัด โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สวัสดิ์พานิช กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางละมุง

คำสำคัญ:

สื่ออิเล็กทรอนิกส์, ฟาวิพิราเวียร์, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาจากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 2) ศึกษาผลลัพธ์การให้สื่อความรู้และสื่ออิเล็กทรอนิกส์และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ในโรงพยาบาลสนามบานบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 40 คน และกลุ่มทดลอง 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565-31 กรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและใช้สถิติอนุมาน คือ Independent t-test และ paired sample t-test

ผลการวิจัย พบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ร้อยละ 67.50 โดยเกิดอาการไม่พึงประสงค์มากที่สุด ร้อยละ 32.50 เภสัชกรจัดการปัญหาด้านยาและได้รับการยอมรับในการแก้ปัญหา ร้อยละ 96.30 ผลลัพธ์ด้านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า กลุ่มทดลอง มีผลต่างเฉลี่ยของคะแนนความรู้มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p value <.001) และมีระดับความร่วมมือในการใช้ยามากกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) และผลลัพธ์ของยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 ทำให้ระดับค่าออกซิเจนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value =.002) ดังนั้นควรมีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการให้ความรู้กับประชาชนด้วยกระบวนการให้การบริบาลเภสัชกรรม จะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย

References

เกศกนก จันพลา. (2566). ผลของการใช้ Protocol การใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา และผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ด้วยระบบ Telepharmacy ณ โรงพยาบาล พระพุทธบาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(5), 906-917.

เกศสุภา พลพงษ์ และณิชาพร กตะศิลา. (2566). อุบัติการณ์และลักษณะของอาการไม่พึงประสงค์ของ Favipiravir ในผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลศรีษะเกษ, วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 29(3), 143-152.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 22 เมษายน 2565. สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25650422162203PM_CPG_COVID-19_n_v.22_20220422.pdf.

กรองทอง พุฒิโภคิน. (2564). บทบาทเภสัชกรคลินิกในการติดตามฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ในหอผู้ป่วย. ยาวิพากษ์, 48, 21-28.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2563). เผย 80% ผู้ป่วยโควิด-19 อาการน้อยถึงน้อยมาก 30% ในกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันแต่ไม่มีอาการ. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2020/04/18886.

ณัฐวรรธน์ เลิศภานิธิศ. (2557). ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลดอกคำใต้. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 3(2), 37-44.

ธีรวัฒน์ ช่างปัด และสุมลชาติ ดวงบุบผา. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 29(3), 1-18.

มาดีฮะห์ วาเง๊าะ, ชนกานต์ มีรอด, ชนาธิป หอมทอง, พัชรี มีเย็น และธนัญชัย จวบประสบ. (2567). ผลของโปรแกรมการติดตามการกินยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 10(2), 150-160.

มลฤดี มณีรัตน์. (2566). ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่บ้าน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 33(3), 286-297.

พรรณี ลีลาวัฒนชัย. (2564). Favipiravir สำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 31(2), 141-158.

บุญรักษ์ ฉัตรรัตนกุลชัย. (2562). การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 16(3), 87-95.

ปริตรตา ไชยมลและคณะ. (2560). ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับการใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9(2), 475-488.

รพีพรรณ เกิดหนู. (2566). การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการและสนับสนุนบริการสุขภาพ, 19(3), 17-26.

รจเรศ หาญรินทร์. (2552). การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย, 1(1), 84-96.

วรรษา กุลตังวัฒนา. (2562). ผลของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งเสริมทัศนคติในการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/473/1/gs601110082.pdf.

ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน และกัลยา อุ่นรัตนะ. (2562). ประสิทธิผลของสื่อวีดีทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(3), 488-498.

สราวุธ กิตติเกษมสุข และศุภรัตน์ ชั้นประเสริฐ. (2566). ความร่วมมือในการใช้ยาและอาการไม่พึงประสงค์จากฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงน้อยในระบบ Self-Isolation. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 33(2), 130-143.

สุชาญวัชร สมสอน, ปาหนัน พิชยภิญโญ และสุนีย์ ละกำปั่น. (2565). ผลของโปรแกรมแบบแผนการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะร่วมกับการกำกับการรับประทานยาผ่านวีดีโอในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(1), 241-253.

สุวลักษณ์ สุนทรพจน์. (2564). ประสิทธิผลของการส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/ bitstream/123456789/3924/1/60352306.pdf.

สุวิทย์ พรมเสน, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, วัชรินทร์ โกมลมาลัย และสุวรรณี เนตรศรีทอง. (2564). ประสิทธิผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสอนเรื่องการปฐมพยาบาลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 44-52.

อรุณวรรณ ต่อกร. (2565). ผลของการบริบาทเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 3(2), 108-116.

องค์การเภสัชกรรม. (2564). ความร่วมมือเพื่อสร้างความสามารถในการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API: Active Pharmaceutical Ingredients) ของประเทศ: ยาต้านไวรัส “Favipiravir”. สืบค้นจาก https://www.gpo.or.th/view/381?lang=en.

องค์การอนามัยโลก. (2562). โรคโควิด 19 คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand /update-28-covid-19-what-we-know---june2020thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0.

Figen Ozturk Ergur, Murat Yildiz, Melahat Uzel Sener, Ayperi Ozturk. (2022) Adverse effects associated with favipiravir in patients with Covid-19 pneumonia: a retrospective study. Paulo Medical Journal, 140(3), 372-377.

Dabbous, H. M., Abd-Elsalam, S., El-Sayed, M. H., Sherief, A. F., Ebeid, F. F. S., El Ghafar, M. S. A., et al. (2021). Efficacy of favipiravir in COVID-19 treatment: a multi-center randomized study. Archives of Virology, 166(3), 949–954. https://doi.org/10.1007/s00705-021-04956-9

Abunahlah, N., Elawaisi, A., Velibeyoglu, F. M., & Sancar, M. (2018). Drug related problems identified by clinical pharmacist at the Internal Medicine Ward in Turkey. International Journal of Clinical Pharmacy, 40(2), 360–367. https://doi.org/10.1007/s11096-017-0585-5

Nielsen, T. R., Andersen, S. E., Rasmussen, M., & Honoré, P. H. (2013). Clinical pharmacist service in the acute ward. International Journal of Clinical Pharmacy, 35(6), 1137-1151. https://doi.org/10.1007/s11096-013-9837-1

Tehrani S., Yadegarynia D., Bagherzade A., Gachkar L., Keyvanfar A. (2022). Efficacy of Favipiravir in the Treatment of moderate COVID-19 patients: A randomized, open-label, controlled clinical trail. Mediterranean Journal of Infection, Microbes and Antimicrobials, 11(1), 11-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-28