ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้การปรึกษาต่อความพร้อมและความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนัก
คำสำคัญ:
ความพร้อม, ความวิตกกังวล, โปรแกรมการให้ข้อมูล, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักบทคัดย่อ
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ส่งผลต่อความพร้อมและความวิตกกังวลในผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลังเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมและความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนักก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้การปรึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้คำปรึกษาในผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนัก และแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่าก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ระดับสูง และระดับต่ำ ร้อยละ 43.33 และ 36.67 ตามลำดับ มีความวิตกกังวลเล็กน้อยและปานกลาง ร้อยละ 40.00 และ 30.00 ตามลำดับ หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ระดับสูง ร้อยละ 100 มีความวิตกกังวลเล็กน้อย ร้อยละ 66.67 ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนักหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -7.42, p=.000) และคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=10.50, p=.000) ดังนั้นการส่งเสริมการให้ข้อมูลและการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้และการปรับตัวที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีความพร้อมและลดความวิตกกังวลในส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
References
จงดี ปานสุวรรณ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้ และความวิตกกังวล ในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม. ราชาวดีสาร. 12(1), 136-148.
ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง และมยุรี ลี่ทองอิน. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้สูงอายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก่อนได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น. Proceeding การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 20 หน้า 955-966. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2535). การลดความวิตกกังวลของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา กลิ่นรัตน์ และมณฑรา ชาญณรงค์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารโรงพยาบาลมหาราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 1(3), 68-81.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 5(1), 496-507
นิลวรรณ ผ่องใสโสภณ และปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2565). ประสิทธิผลการให้การปรึกษาแบบสั้นเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยเตรียมผ่าตัด หน่วยให้การปรึกษาสุขภาพ โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี. 30(2), 207-215.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
ปราณี ใบเศวต, จิตติมา ศรีทอง, และฐาณิชญาณ์ หารณรงค์. (2564). ผลการเตรียมผู้ป่วยเพื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอกศูนย์ส่องกล้องโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 4(2), 40-53.
สุพัตรา ทองคํา และบุญทิวา สู่วิทย์. (2565). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ต่อ ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 14(2), 314-323.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2563). 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากในคนไทย : มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. ไทยโพสต์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/617012
สมภพ อริยวนิช และรังสิยา บัวส้ม. (2563). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ: ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลรายงานประจำปี 2562. นิวธรรมดาการพิมพ์.
อมรวินิษฐ์ กนกวรรณวิมล. (2561). การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่. ใน ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง, พัดชา พงษ์เจริญ, ปฐมทรรศน์ พันธุมโกมล และประวีณ โล่เลขา (บรรณาธิการ). อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ. (หน้า 256-276). ปทุมธานี: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล. (2559). ผลการวินิจฉัยและรักษาโดยการส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ของหน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 13(3), 129-135.
Arnold, M., Sierra, M. S., Laversanne, M., Soerjomataram, I., Jemal, A., & Bray, F. (2017). Global patterns and trends in colorectal cancer incidence and mortality. Gut. 66(4), 683-691.
Colorectal cancer: Statistics. (2020). Doctor-approved patient information from ASCO. Retrieved form https://www.cancer.net/cancer-types/colorectal-cancer/statistics
Kaplan, B.J. (2016). Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry: Behavioral sciences/clinical psychiatry. Philadelphia: Wolters Kluwer.
Karaveli Çakır, S., & Evirgen, S. (2021). The effect of virtual reality on pain and anxiety during colonoscopy: a randomized controlled trial. Turkish journal of gastroenterology. 32(5), 451–457.
Lee, E., Shafer, L. A., Walker, J. R., Waldman, C., Michaud, V., Yang, C., Bernstein, C. N., Hathout, L., Park, J., Sisler, J., Wittmeier, K., Restall, G., & Singh, H. (2019). Information experiences, needs, and preferences of colonoscopy patients: A pre-colonoscopy survey. Medicine. 98(20), e15738.
Leventhal, H., & Johnson, J.E. (1983). Laboratory and field experiment of a theory of self-regulation. St Louis: Mosby.
Shahrbabaki, P. M., Asadi, N. B., Dehesh, T., & Nouhi, E. (2022). The effect of a pre-colonoscopy education program on fear and anxiety of patients: a randomized clinical trial study. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research. 27(6), 554–559.
Shafer, L. A., Walker, J. R., Waldman, C., Yang, C., Michaud, V., Bernstein, C. N., Hathout, L., Park, J., Sisler, J., Restall, G., Wittmeier, K., & Singh, H. (2018). Factors associated with anxiety about colonoscopy: the preparation, the procedure, and the anticipated findings. Digestive Diseases and Sciences. 63(3), 610–618.
Spielberger, C.D. (1995). Test anxiety theory, assessment and treatment. New York: University of South Florida.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี