ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ สุทธิรักษ์ โรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การตกเลือดหลังคลอด, การปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อน-หลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของพยาบาลและพัฒนาทักษะของพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จำนวน 30 คน โดยจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ การอภิปรายกลุ่มย่อยกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสาธิต การฝึกทักษะทำคลอดปกติ และให้คู่มือการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินความรู้เรื่องการตกเลือดหลังคลอด และแบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ทดสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหา ได้เท่ากับ .84 และตรวจสอบหาความเที่ยงของแบบประเมินความรู้เรื่องการตกเลือดหลังคลอด โดยใช้สูตร Kuder-Richardson 20 ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .80 และความเที่ยงของแบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้สูตรคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบ Pair t-test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการตกเลือดหลังคลอด และคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดของพยาบาล ก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยให้พยาบาลมีความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการพัฒนาแนวทางการดูแลอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนด้านความรู้ เพื่อการปฏิบัติการพยาบาลที่ถูกต้อง เหมาะสม สามารถป้องกันการตกเลือดหลังคลอดได้

References

จิรัสย์พล ไทยานันท์. (2566). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในการคลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร, 10(1), 1-17.

ณฐา เซียงปิ๋ว, วราภรณ์ บุญเชียง และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2561). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือด สมองต่อความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ อสม. วารสารพยาบาลสาร. 45(1), 87-99.

นุชรินทร์ โกสีย์วงศานนท์, สุคนธ์ ไข่แก้ว และเบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. (2561). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 14(1), 25-39.

เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. (2558). ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหารการพยาบาล) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 146-157.

สถิติโรงพยาบาลเขาชัยสน. (2566). เวชระเบียนห้องคลอดโรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังมารดาตายสำหรับประเทศไทย. สืบค้นจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/ebook-01-momandchild/

ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์ และสมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือด ระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น. ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) (น. 134-147). บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยขอนแก่น.

อรรถยา อมรพรหมภักดี. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาลปฐมภูมิที่ส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ กรุงเทพมหานคร: สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Bloom, Benjamin S. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student. Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Devendra, B.N., Seema, K.B. & Kammappa, K.A. (2015). Episiotomy wound hematoma: Recognition, management and healing assessment by REEDA scale in postpartum period. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences (IOSR-JDMS). 14(9), 8-11.

Einerson, B.D., Baksh, L., Fisher, J.A., Sullivan, A. & Clark, E.A.S. (2016). Postpartum hemorrhage implementing your bundle. University of Utah. Retrieved from: https://healthcare.utah.edu/ echo/ docs/ pregnancy- care- didactics/ 201609.09-postpartum-hemorrhage.pdf.

Kolb, D.A, Rubin, I.M & Osland J. (1991). Organizational behavior: An experiential approach. Englewood Cliffs: Prentice-Hall

Miller, J.G., Goyal, N., & Wice, M. (2017). A cultural psychology of agency: morality, motivation, and reciprocity. Perspectives on Psychological Science, 12(5), 867-875. https://doi.org/10.1177/1745691617706099

Murray, S.S. and McKinney, E.S. (2014). Pain management during childbirth. In foundation of maternal-newborn and women’s health nursing. 6thed., (pp.278-282). United States of America: Saunders Elsevier

Perry, E., Hockenberry, M.J., Lowdermilk, D.L. and Winson, D. (2010). Postpartum complications. In Maternal Child Nursing Care. 4thed. (pp. 576-585). Canada: Mosby Elsevier.

Roger EM. (1995). Diffusion of innovations. 4thed. The free press world stroke organization.

Smit, M., Chan, L., Middeldorp, J., & Roosmalen, J. (2014). Postpartum hemorrhage in midwifery care in the Netherlands: validation of quality indicators for midwifery guidelines. BMC Pregnancy and Childbirth. Retrieved from http://www.ncbi.nih.gov/pmc/articles/PMC4266235/

Su C. W. (2012). Postpartum hemorrhage. Primary care, 39(1), 167–187. https://doi.org/10.1016/j.pop.2011.11.009

World Health Organization. (2012). WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data Retrieved from https://iris.who.int/bitstream/10665/75411/1/9789241548502_eng.pdf

World Health Organization. (2014). Trends in maternal mortarity: 1990 to 2013: estimates by WHO,UNICEF, UNFPA. The world bank and the United Nations population [online]. Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/112682/2/ 9789241507226_eng.pdf?ua=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30