ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สมชาย บุญตะวัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสว่างวีระวงศ์

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  โดยประยุกต์ใช้ การเสริมสร้างความรอบรู้ในการจัดโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและได้รับยารักษา จำนวน 136 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 68 คน กลุ่มควบคุม 68 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรม 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมดำเนินชีวิตประจำวันปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired Sample t–test และ Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลองมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  สรุปได้ว่าโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการดำเนินงานระยะ 3 ปีแรก ตั้งแต่ 2559-2561. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สธ. ตั้งเป้า 8 ปี กำจัดพยาธิใบไม้ตับและลดมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อลดการตายกว่าปีละ 15,000 คน หวังคนไทยกินปลาสุกอายุยืน. สืบค้นจาก http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2566). เครื่องมือและโปรแกรมประเมิน HL และ HB ปี 2566. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สืบค้นจาก http://www.hed.go.th/linkHed/462

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188920211018040126.pdf.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ฉัตรลดา ดีพร้อม และนิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. (2561). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 8(1), 20-24.

พลอยไพลิน ทับทิม และรุจิรา ดวงสงค์. (2557). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 25-34.

รมย์ฤดี เวสน์ และอาชัญญา รัตนอุบล. (2557). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเอง. วารสารครุศาสตร์. 42(2), 95-99.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง. (2566). ทะเบียนรายงานการเสียชีวิต. รายงานต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี.

ลักขณา มาคะพุฒ จุฑามาศ นพรัตน์ และมนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ ด้านการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย. 1(1), 60-73.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). 10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็ง. ข่าวในรั้ว สธ. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/150955.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Sithithaworn, P., et al (2014). “Roles of liver flukes infection as risk factor for cholangiocarcinoma (42nd ed. p.38-39): Journal of Hepato-Biliary-Pancreatic Sciences. Retrieved from https://www.academia.edu/31219540/Roles_of_liver_fluke_infection_as_risk_factor_for_cholangiocarcinoma.

World Health Organization. (1998). The world health report 1998: life in the 21st century A vision for all / The world health report 1998: life in the 21st century A vision for all. Retrieved from https://pesquisa.bvsalud.org/portal/resource/pt/pah-25006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-14