การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ก้องไพร ตันสุชาติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0000-0002-5878-9556
  • ปราโมทย์ เย็นบุญธรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธวัฒชัย แก้วอ้วน สำนักงานสาธารณสุขอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวาน, เพศ

บทคัดย่อ

ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นกระบวนการทางปัญญา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง งานวิจัยภาคตัดขวางเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและเปรียบเทียบความแตกต่างของความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลอมก๋อย จำนวน 276 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ ด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ Mann-Whitney U test

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในอายุเฉลี่ยและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างชายและหญิง แต่มีความแตกต่างกันในระดับระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า เพศหญิงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 60.9) การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขั้นพื้นฐาน (Z=-2.391, p=.011) ขั้นปฏิสัมพันธ์ (Z=-2.547, p=.011) ขั้นวิจารณญาณ (Z=-1.925, p=.013) และภาพรวมของความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (Z=-2.494, p=.017) โดยผู้ป่วยเบาหวานเพศชายมีคะแนนค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ขั้นพื้นฐาน ขั้นปฎิสัมพันธ์ ขั้นวิจารณญาณ และ ภาพรวมของความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่าเพศหญิง ซึ่งจากผลการวิจัยนี้บุคลากรสาธารณสุขสามารถวางแผนให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง หรือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). Gender role บทบาททางเพศ. สืบค้นจาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gender-role

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(01), 22-22.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ, อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล, สุทัตตา ช้างเทศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก, 9 (ฉบับพิเศษ), 320-322.

นิรชร ชูติพัฒนะ, ธีรศักดิ์ ศรีพิทักษ์ และอิสระ ทองสามสี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนในนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 15(2), 98-105.

ประการ เข้มแข็ง, นันทยา อ่อนคง และมณีรัตน์ วงศ์พุ่ม. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและเขตชนบท จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 4(1), 28-44.

ปาจรา โพธิหัง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา, 29(3), 115-130.

ปิยนาฏ แซ่ก๋ง. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลใ เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนาบอน. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 1(3), 59-72.

พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี จิวสืบพงษ์, กฤษฎา เหล็กเพชร และจันทิมา นวะมะวัฒน์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 30-43.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและการจัดการสุขภาพ]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิมล โรมา และสายชล คล้อยเอี่ยม. (2562). รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2565). ฐานข้อมูล Health data center ปี 2563-2565. สืบค้นจาก https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

วิมลรัตน์ บุญเสถียร และอรทัย เหรียญทิพยสกุล. (2566). การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุหญิงและชายที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 5(2), 1-13.

โสวณี มุกนพรัตน์ และนิชาพร ชูช่วย. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ. 2(1), 41-51.

อังศุมารินทร์ ปากวิเศษ และสมศักดิ์ อินทมาต. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(2), 1-17.

อารยา เชียงของ. (2561). ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน [ปริญญานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Baker, D. W., Gazmararian, J. A., Sudano, J., & Patterson, M. (2000). The association between age and health literacy among elderly persons. Journal of Gerontology, 55B(6), S368-74. Brice JH, Travers D, Cowden CS, Young MD, Sanhueza A, Dunston Y. (2008). Health literacy among

Spanish-speaking patients in the emergency department. Journal National Medicine Association. 100(11), 1326-1332

Boye, K. S., Thieu, V. T., Lage, M. J., Miller, H., & Paczkowski, R. (2022). The association between

sustained HbA1c control and long-term complications among individuals with type 2 diabetes: a retrospective study. Advances in Therapy, 39(5), 2208-2221.

Caylan, A. Yayla, K., Oztora, S. & Dagdeviren, H. N. (2017). Assessing health literacy, the factors affecting it and their relation to some health behaviors among adults. Biomedical Research. 28(15), 6803-6807.

Goldman, B. (2017). The cognitive differences between men and women. Retrieved from https://stanmed.stanford.edu/how-mens-and-womens-brains-are-different/

Heizomi, H., Iraji, Z., Vaezi, R., Bhalla, D., Morisky, D. E., & Nadrian, H. (2020). Gender differences in the associations between health literacy and medication adherence in hypertension: a population-based survey in Heris County, Iran. Vascular Health and Risk Management, 157-166.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Lee, H. Y., Lee, J., & Kim, N. K. (2015). Gender Differences in Health Literacy Among Korean Adults: Do Women Have a Higher Level of Health Literacy Than Men?. American Journal of Men's Health, 9(5), 370–379. https://doi.org/10.1177/1557988314545485

Nutbeam D. .(2000). Health Literacy as public health goal: A Challenge for Contemporary health education and Communication Strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

Nutbeam D. (2008). Health Literacy and Adolescents: a framework and agenda for future research. Health Education Research. 23(5). Published by Oxford University Press.

Osborne, H. (2004). In other words Why health literacy matter? Retrieved from http://www. Health literacy.com/article.asp?PageID=3791.

Ozdemir, H., Alper, Z., Uncu, Y., & Bilgel, N. (2010). Health literacy among adults: a study from Turkey. Health Education Research, 25(3), 464–477. https://doi.org/10.1093/her/cyp068

Park, N. H., Song, M. S., Shin, S. Y., Jeong, J. H., & Lee, H. Y. (2018). The effects of medication adherence and health literacy on health‐related quality of life in older people with hypertension. International journal of older people nursing, 13(3), e12196.

Reutrakul, S., & Deerochanawong, C. (2016). Diabetes in Thailand: Status and Policy. Current Diabetes Reports, 16(3), 28. https://doi.org/10.1007/s11892-016-0725-7

Quartuccio M, Simonsick EM, Langan S, Harris T, Sudore RL, Thorpe R, Rosano C, Hill-Briggs F, Golden S, Kalyani RR. (2018). The relationship of health literacy to diabetes status differs by sex in older adults. Journal of Diabetes Complications. 32(4):368-372. https://doi.org./10.1016/j.jdiacomp.2017.10.012.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-23