ประสิทธิผลของศาสตร์การบ่งต้อด้วยหนามหวายในผู้ป่วยโรคต้อกระจก

ผู้แต่ง

  • เรวัตร์ ส่งแสง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา
  • วิลาวัณย์ เผือกชาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา
  • ศรินทร์รัตน์ จิตจำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
  • กัญทร ยินเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
  • สิริรัตน์ เลาหประภานนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
  • สินีนาฎ อารีกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
  • วสันต์ หะยียะห์ยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
  • ทิยานันท์ ปานิตย์เศรษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)

คำสำคัญ:

การบ่งต้อ, โรคต้อกระจก, หนามหวาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของศาสตร์การบ่งต้อด้วยหนามหวายซึ่งเป็นหัตถการทางการแพทย์พื้นบ้านไทยในผู้ป่วยโรคต้อกระจก ประเมินความเปลี่ยนแปลงของระดับสายตาข้างที่เป็น (Visual Measurement) โดยใช้แผนภูมิวัดสายตา Snellen chart ในผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลห้วยยอด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล หนามหวาย และแบบบันทึกการประเมินระดับสายตา (Visual Measurement) ด้วยวิธีวัดระดับความสามารถในการมองเห็น (Visual acuity Test) และวิธีวัดระดับความสามารถในการมองเห็นด้วยแผ่นปิดวัดสายตา Pinhole (Pinhole test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วย paired t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.3 มีอายุระหว่าง 52-81 ปี ร้อยละ 43.3 มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาในการเป็นต้อกระจกอยู่ในช่วงมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 43.3 ผลการทดสอบด้วยวิธี Visual acuity Test พบว่าก่อนการบ่งต้อด้วยหนามหวายผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการมองเห็น ที่แถว 1 VA=20/200 ซึ่งเป็นแถวที่มีตัวอักษรใหญ่ที่สุด โดยตาขวา และตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 33.3 และ 30.0 ตามลำดับ หลังการบ่งต้อด้วยหนามหวายมีระดับความสามารถในการมองเห็นเพิ่มขึ้นอ่านได้ที่แถว 8 VA=20/15 ซึ่งเป็นแถวที่มีตัวอักษรเล็กที่สุด โดยตาขวา และตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 43.3 และ 33.3 ตามลำดับ และจากผลทดสอบด้วยวิธี Pinhole test พบว่าหลังการบ่งต้อด้วยหนามหวายมีระดับความสามารถในการมองเห็นเพิ่มขึ้น ที่แถว 8 VA=20/15 ซึ่งตาขวาและตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 36.6 และ 23.3 ตามลำดับ แปลผลเทียบกับแผนภูมิวัดสายตา LogMAR พบว่า Visual Measurement มีค่า LogMAR ลดลง แสดงให้เห็นว่าการมองเห็นดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าก่อนและหลังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05

References

ชเอม ขุมเพชร, วรินทร ทีเวียง, เอมอร พรมแก้ว และธนวรรณ ทรัพย์มาก. (2559). ผลการรักษาโรคตาด้วยหนามหวายโดยการตรวจระดับความสามารถในการมองเห็น (VA). รายงานการวิจัย. กําแพงเพชร: โรงพยาบาลกําแพงเพชร.

ทวี เลาหพันธ์ และเอื้อพงศ์ จตุรธำรง. (2557). หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) ตอนที่ 1: การนวดพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.

ปราณี มีหาญพงษ์. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกก่อนและหลังทำผ่าตัด. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 27(1), 31-41.

ปราโมทย์ ประสาทกุุล. (2566). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).

ปานเนตร ปางพุฒิพงศ, สายจินต อิสีประดิฐ, อรอร ธงอินเนตร, เพ็ญพิมล ยิ่งยง, ณัฎฐิรา ชัยศรีสวัสดิ์สุข, วรภัทร วงษ์สวัสดิ์ และคณะ. (2557). Eye Diseases. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ปิยนุช สุจริตบรรณ. (2560). อรรถประโยชน์ด้านสุขภาพของโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุชนิดที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ ในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญจิต ไชยรัตนโชติ, ชุติกาญจน์ ธนมนตรา, สุภาวดี แก้วสระแสน และกัญชัช กาญจนบุตร. (2558). การศึกษาการรักษาโรคตาด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของผู้ป่วยที่เป็นตาเป็นต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจกที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.

มุกดา เดชประพนธ์ และปิยวดี ทองยศ. (2559). ปัญหาทางตาที่พบบ่อยและการสร้างเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(1), 1-9.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศคณะกรรมการหมอพื้นบ้าน เรื่องลักษณะ ประเภท หรือกรรมวิธีของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: ผู้ดำเนินการพิมพ์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง กำหนดกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ด้านการแพทย์พื้นบ้านไทย พ.ศ. 2564.

เรวดี ศรีสุข. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุภายหลังการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 65-76.

โรงพยาบาลจักษุรัตนิน. (2560). ต้อเนื้อ ต้อลม. รอบรู้เรื่องตา. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttp://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.28.1.html.

สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือการตรวจคัดกรองระดับการมองเห็นในเด็กระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2, ฉบับปรับปรุง). โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

วัชราภรณ์ อรุณเมือง, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ และยงยุทธ วัชรดุลย์. (2565). การประเมินผลการรักษาโรคตาด้วยวิธีการบ่งต้อด้วยหนามหวาย โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 8(1), 15-31.

สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต. (2563). สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน Log MAR visual chart. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttps://haamor.com/2-109.

สายจิต สุขหนู, สิทธิศักดิ์ ติคํา, เบญญารัตน์ รอทอ, สุภาวดี สานะ และภัทราพร บุญมี. (2564). การศึกษาองค์ความรู้พื้นบ้านในการรักษาโรคต้อกระจก โดยการบ่งต้อด้วยหนามหวายขมกรณีศึกษา หมอชเอม ขุมเพชร. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 7(1), 29-52.

อภิชาติ ลิมติยะโยธิน (บรรณาธิการ). (2560). เส้นประธานสิบกับการนวดแบบราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สถาบันแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.

Sumana Khandaker, Sajan Das, FAD Md. Opo, Rumana Akhter and Mohammad Shahriar. (2016). In vivo pharmacological investigations of the crude extracts of Calamus viminalis (L.). Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 5(3). 263-269.

World Health Organization. (2024). Blindness and vision impairment. Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-01