ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมดนตรีผ่อนคลาย และสมาธิอย่างง่ายต่อระดับความวิตกกังวล ของหญิงตั้งครรภ์ขณะรอผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ โสมเพชร ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • ทัศณีย์ หนูนารถ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่าย, ความวิตกกังวล, การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ขณะรอผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่าย และเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ขณะรอผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่รอรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องขณะรอผ่าตัดห้องผ่าตัดสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 68 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่าย และแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลการวินิจฉัยและวิธีการระงับความรู้สึก และแบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ The State-Trait Anxiety Inventory [STAI] form Y-1 ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1 ความเที่ยงของเครื่องมือคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .80 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่าหลังได้รับโปรแกรมดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่าย กลุ่มทดลองมีระดับความความวิตกกังวล น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X=2.44, S.D.=0.61 และ X=1.12, S.D.=0.33) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่ายมีระดับความความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการการพยาบาลตามปกติ (X=1.12, S.D.=0.33 และ X=2.47, S.D.=0.70) การฝึกด้วยโปรแกรมดนตรีผ่อนคลายและสมาธิอย่างง่ายช่วยลดระดับความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ขณะรอผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้

References

ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม. (2565). ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. สืบค้นจาก https://hpc.go.th/rcenter/

ชนากานต พรมมาสุข. (2567). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ปวยกอนถอดท่อเครื่องช่วยหายใจโดยใชโปรแกรมสมาธิบําบัดและดนตรีบําบัดในผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยากเพื่อปองกันการติดเชื้อในปอดจากการใสเครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(1), 216-221.

ดาราวรรณ ต๊ะปิ่นตา. (2534). การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยเอดส์ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตภาควิชาจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตฏิลา จำปาวัลย์. (2561). ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (State Anxiety). วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(1). 13-20.

ณัฐกานต์ เสงี่ยมพร, จารุวรรณ แซ่เต็ง และกวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์. (2564). Critical Care in Postoperative Gynecologic Patients. สืบค้นจาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6904/

นิตยา วงษ์แตงอ่อน. (2564). ผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. สืบค้นจาก https://apps.hpc.go.th/dmkm/web/uploads/2021/

พราวพิมล กิตติวงศ์วิชัย. (2566). ผลของการทำสมาธิบำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(1). 216-226.

พิชัย จันทศิลป์ และชยาวรักษ์ สัจจวาณิชย. (2564). ผลลัพธ์การเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 5(10), 127-142.

แพรวพรรณ แสงทองรุ่งเจริญ และศรีสุดา งามขำ. (2562). การจัดการความปวดในระยะคลอดบนพื้นฐานทฤษฎีเชื่อมโยงระบบประสาท. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 25(2). 1-12.

รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). ผลของดนตรีบำบัดต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3). 34-43.

เวชระเบียนห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. (2565). สถิติการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ปี 2565.โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.

สมสุข นิธิอุทัย, ประทีป จินงี่ และอรพินทร์ ชูชม. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 73-92.

สายันต์ บุญใบ. (2560). ดนตรีบำบัด. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 4(1), 1-6.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ. สืบค้นจาก https://resourcecenter-uat.thaihealth.or.th/

อรนิด นิคม, นงลักษณ์ เฉลิมสุข และบังอร ศุภวิทิตพัฒนา. (2562). ผลของดนตรีต่อความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3), 115-124.

Bae I, Lim HM, Hur MH, Lee MS. (2014). Intra-operative music listening for anxiety the BIS index andthe vital signs of patients undergoing regional anesthesia. Complementary Therapies in Medicine, 22, 251-257.

Kazemi, S. N., Vaziri-harami, R., Vaziri-harami, S., & Mousavian, F. S. (2023). Anxiety Disorders in Pregnant Women and its Effects on Choosing the Delivery Method. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/

Sargar D, Chakrabarty K, Bradra B, Singh R, Mandal U, Ghosh D, et al. (2015). Effects of music on patients undergoing caesarean section under spinal anesthesia. International Journal of Recent Trends in Science and Technology. 13, 663-667.

Spielberger, C. D. (1983). State-trait anxiety inventory a comprehensive bibliography. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28