ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัยของผู้ดูแลเด็กในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุกัลยา โพธาราม คลินิกหมอครอบครัวเมืองยศ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย, โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ดูแลเด็กในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กกลุ่มอายุ 9  18  30  42 และ 60 เดือน ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ผู้ดูแลเด็กประกอบด้วยญาติและไม่ใช่ญาติ จำนวนทั้งหมด 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการ คือ ชุดความรู้ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และชุดประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 3 ชั่วโมง และเยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสัปดาห์ละ 2 วัน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป  แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน paired t-test

ผลการวิจัย พบว่าหลังเข้าโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยผู้ดูแลเด็กปฐมวัยกลุมตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (mean difference=4.87) (p<.001) และมีพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (mean difference=4.93) (p<.001)

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560–2579) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(Developmental Srveillance and Promotion Manual; DSPM). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คลินิกหมอครอบครัวเมืองยศ. (2566). สรุปผลการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวเมืองยศ ประจำปี 2565. ยโสธร: คลินิกหมอครอบครัวเมืองยศ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยโสธร.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา และคณะ. (2561). การพัฒนาการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดยโสธร. ยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.

ยุทธิดา กองเนียม. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในกลุ่มผู้ปกครองชาวกะเหรี่ยง ปกาเกอะญอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตติกาล ปฐมบวรทัต. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพาเด็กปฐมวัยมาตรวจคัดกรองพัฒนาการของผู้ดูแลเด็กในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ชุดความรู้ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนา อนามัยแม่และเด็ก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Mussen, H.P. and Conger. (1956). Children Development and Personality. New York : Harper and Brother.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01