พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนบ้านเมืองจังใต้ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • เจนฤทัย เจริญศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ดรุณี กิติวิเศษสกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อารีรัตน์ กันฟัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กฤติณัฎฐ์ นวพงษ์ปวีณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนชุมชนบ้านเมืองจังใต้ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูพียง จังหวัดน่าน จำนวน 260 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Chi-Square

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.00 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.54 เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 97.69 อายุที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ อายุ 10-20 ปี ร้อยละ 58.08 มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 92.31 ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.23 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับมีความเสี่ยงน้อย ร้อยละ 75.77 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ประกอบการวางแผนการป้องกัน ควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่อายุอายุระหว่าง 10-20 ปี และสร้างความตระหนักรู้ของชุมชนถึงผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

References

กรมสุขภาพจิต. (2565). "น้ำเมา" เพิ่มภาระครัวเรือนกว่า 170 ล้านบาท/ปี สร้างความเสียหายชีวิต–ประเทศ. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31837.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). “AUDIT แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ”. สืบค้นจาก https://dmh-elibrary.org/items/show/1209.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สายดื่มควรรู้ โรคยอดฮิตจากฤทธิ์แอลกอฮอล์. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/สายดื่มควรรู้-โรคยอดฮิต/.

เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดน่าน. (2566). “พบนักดื่มแอลกอฮอล์ จ.น่าน อันดับ 1 ของไทย สสส. ชวนวัดค่าเอนไซน์ตรวจสุขภาพตับหน่วยสุขภาพใกล้บ้าน”. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/news-5672.

ปัญจพร ศรีชนาพันธ์, ดารารัตน์ ธาตุรักษ์, วันไชย คำเสน, วิรยะ เดชแสง, ณัฐนรี ทองดีพันธ์, วันวิสาข์ ชูจิตร และคณะ. (2563). ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง และแรงจูงใจที่ส่งผลให้เกิดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ของประชากรในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 26-41.

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของคนในชุมชนตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขภาพส่งเสริมสุขภาพอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 9, 16(2), 711-722.

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ และคุณภาพชีวติของประชาชน จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 275-287.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์. (2565). แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของ ประชากรไทย. (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. (2556). พฤติกรรมและผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1), 101-109.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Bloom, B.S. et al. (1986). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24