ผลการประเมินการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยพร บุญศรี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ประภาพร สุวรัตน์ชัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมิน การดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นศึกษาย้อนหลังภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในกระแสเลือด (ICD 10 Code: J12-18) ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564 จำนวน 86  คน เครื่องมือใช้คือแบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ผลลัพธ์และการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ทบทวนและสืบค้นเวชระเบียนย้อนหลังในระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล สถิติที่ใช้เชิงพรรณนา ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงวิเคราะห์ใช้ สถิติวิเคราะห์ถดถอยลอจีสติกพหุคูณ  

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.47 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.66 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 55.81 เจ็บป่วยรุนแรง ร้อยละ 73.26 คาท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 97.68 ได้รับสารน้ำเพียงพอ ร้อยละ 86.50 ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 88.37 ได้รับยาบีบหลอดเลือด (vasopressors) ร้อยละ 31.40 รับไว้ในห้องผู้ป่วยหนัก ร้อยละ 85.19 ผลค่าแก๊สในหลอดลือดแดงผิดปกติ ร้อยละ 68.61 ค่า acute physiology and chronic health evaluation II (APACHEII) เฉลี่ย 23.63 (S.D.=6.64) ส่วนผลลัพธ์ พบภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ร้อยละ 50.00 ภาวะระบบหายใจล้มเหลว ร้อยละ 22.09 ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ร้อยละ 50.00 อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 32.56 และระยะวันนอนเฉลี่ย 10.62 วัน (S.D.=5.61) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การเสียชีวิต คือ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด Adjusted OR 8.210 (95% CI 1.48-45.42; p value=0.01)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired เขตสุขภาพที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2564 สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=00366a85bd3c2b6932a228df29137252

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 (Public Health Statistics A.D. 2019.) สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/

กิ่งกาญจน์ หาญลำยวง. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ในโรงพยาบาลปากเกร็ด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1), 108-117.

บราลี ศีลประชา. (2563). ผลลัพธ์การใช้แนวทางเวชปฏิบัติรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลตรัง. วารสารวิชาการทางการแพทย์เขต, 11, 34(3), 35-46.

เบญจวรรณ คำหนองคู (2562). ศึกษาผลของการปฏิบัติตาม Surviving Sepsis Campaign Guideline 2018 ต่ออัตราการตาย ในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ(sepsis) และช็อกเหตุพิษติดเชื้อ(septic shock). วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 7(2), 5-15

พิชญพันธุ์ จันทระ, สมพร ศรีทันดร, ฐิตินันท์ วัฒนะชัย, ณัฐพล ยุวนิช,กิตติศักดิ์ หมั่นเขตรกิจ, วรวรรณ สัมฤทธิ์มโนพรและนุชนารถ เขียนนุกูล. (2565). ผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็ว ใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(3), 68-82.

มณท์ธภัชรด์ สุนทรกุลวงศ์. (2565). ผลการประเมินอาการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ตามเกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลว จากการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็ว หลักการดูแล 6 ข้อ และคะแนนการค้นหาความรุนแรง: การศึกษาย้อนหลัง.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(1), 87-98.

ลัดดาวัลย์ เกียรติคุณวงศ์ (2563).ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และสัดส่วนการรอดชีพของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากระยะเวลารอคอยอยู่ในห้องฉุกเฉิน.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 38(2), 115-123.

ลัลธริตา เจริญพงษ์ และกิตติศักดิ์ ผลถาวรกุลชัย. (2563 ).อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช.วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 542-559.

สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และวิมลทิพย์ พวงเข้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 120-134.

สมไสว อินทะชุบ, ดวงพร โพธิ์ศรี และจิราภรณ์ สุวรรณศร. (2560). ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 25(1), 85-92.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก https://www.scribd.com/document/308976515/ร่างแนวทางเวชปฏิบัติ-sepsis-และ-septic shock -2558.

อินทิรา ศรีพันธ์ (2564). โรคเบาหวานกับภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลขามทะเลสอจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการ สคร 9, 27(3), 16-22.

Ahn, H.Y., Lee J., Dong, O.H., et al. (2023). Association between the timing of ICU admission and mortality in patients with hospital-onset sepsis: a nationwide prospective cohort study. Journal of intensive care. 11. 16. 10.1186/s40560-023-00663-6.

Angus, D.C. & van der Poll, T. (2013). Severe sepsis and septic shock [published correction appears in New England Journal of Medicine, 369(9), 840-851.

Armstrong, B.A., Betzold, R.D., May, A.K. (2017). Sepsis and septic shock strategies. Surgical Clinics of North America, 97(6), 1339-1379.

Bai, X., Yu, W., Ji, W., et al. (2014). Early versus delayed administration of norepinephrine in patients with septic shock. Intensive Care Medicine 18(5), 532.

Chen, J. (2023). Arterial Blood Gas (ABG) Analyzer. Retrieved from https://www.mdcalc.com/calc/1741/arterial-blood-gas-abg-analyzer

Dellinger, R.P., Schorr, C.A., Levy, M.M. (2017). A users' guide to the 2016 surviving sepsis guidelines. Critical Care Medicine, 45(3), 381-385.

Driessen, R.G.H., van de Poll, M.C.G., Mol, C.G., van Mook, W.N., Schnabel, R.M, et al. (2017). The influence of a change in septic shock definitions on intensive care epidemiology and outcome: comparison of sepsis-2 and sepsis-3 definitions. Infectious Diseases, 50(3), 207-213.

Evans, L., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C.M., French, C., et al. (2021). Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Medicine, 47(11), 1181–247.

Gauer, R., Forbes, D. & Boyer, N. (2020). Sepsis: Diagnosis and Management. American Family Physician, 101, 409-418.

Gupta, S., Sakhuja, A., Kumar, G, et al. (2016). Culture-negative severe sepsis: nationwide trends and outcomes. Chest, 150(6), 1251-1259.

Jiang, L., & Cheng, M. (2022). Impact of diabetes mellitus on outcomes of patients with sepsis: an updated systematic review and meta-analysis. Diabetology & Metabolic Syndrome, 14, 39. https://doi.org/10.1186/s13098-022-00803-2

Knaus, W. (2023). APACHE II Score. Retrieved from https://www.mdcalc.com/calc/1868/apache-ii-score

Levy, M.M., Evans, L.E., Rhodes, A. (2018). The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive Care Medicine, 44(6), 925-928.

Minasyan, H. (2017). Sepsis and septic shock: pathogenesis and treatment perspectives. Journal of Critical Care, 40, 229-242.

Mukherjee, S., Das, S., Ghosh, P. S., & Bhattacharya, S. (2020). Arterial blood gas as a prognostic indicator in patients with sepsis. Indian Journal of Medical Microbiology, 38(3&4), 457-460. https://doi.org/10.4103/ijmm.ijmm_19_478

Rhodes, A., Evans, L.E., Alhazzani, W., et al. (2017). Surviving Sepsis Campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Critical Care Medicine, 45(3), 486-552.

Seymour, C.W., Kahn, J.M., Martin-Gill, C., et al. (2017). Delays from first medical contact to antibiotic administration for sepsis. Critical Care Medicine, 45(5), 759-765.

Trevelin, S.C., Carlos, D., Beretta, M., da Silva, J.S. & Cunha, F.Q. (2017). Diabetes Mellitus and Sepsis: A Challenging. Association. Shock, 47(3), 276-287.

World Health Organization. (2020). WHO calls for global action on sepsis - cause of 1 in 5 deaths worldwide. Retrieved from https://www.who.int/news/item/08-09-2020-who-callsfor-global-action-on-sepsis---cause-of-1-in-5-deaths-worldwide

Zhang, Z., Hong, Y., Smischney, N.J., Kuo, H.P., Tsirigotis, P., Rello, J., et al. (2017). Early management of sepsis with emphasis on early goal directed therapy: AME evidence series 002. Journal of Thoracic Disease, 9(2), 392–405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-16