ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเรียนกับระดับความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในช่วงหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ แก้วจันดี สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • วารี นันทสิงห์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • สุภาพร พันโนฤทธิ์ สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • บุญหลาย ไกรนพนม สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • ธนะพัฒน์ ทักษิณทร์ สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความเครียด, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านการเรียนกับระดับความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในช่วงหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 159 คน โดยใช้สูตรการคำนวณสูตรของ Wayne ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ multistage random sampling แบ่งสัดส่วนตามระดับชั้นปีที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p value < .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.4 เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 ร้อยละ 59.1 มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 61.6 ส่วนใหญ่มีประวัติเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 83.6 ปัจจัยด้านการเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=2.58, S.D.=0.73) (2) ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.3 และ (3) ปัจจัยด้านการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p value<.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะการเรียนและสิ่งแวดล้อมในการเรียน บทบาทหน้าที่ของนักศึกษาในชั้นเรียน สัมพันธภาพกับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน ความสำเร็จในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และปัจจัยด้านโครงสร้าง อุปกรณ์ และบรรยากาศในชั้นเรียน 

Author Biography

จุฑามาศ แก้วจันดี, สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ



References

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ กองโรคติดต่อทั่วไป. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ชลลดา กิติวงศ์. (2563). บทบาทของอาจารย์ในการลดความเครียดของนักศึกษาในช่วงวิกฤต COVID-19. วารสารสุขภาพจิตและการศึกษา, 35(2), 45-60.

ธนัชพร ปลั่งศรีสกุล. (2563). การศึกษาความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารวิจัยและพัฒนา, 42(3), 102-115.

ปริญญา ตันสกุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเครียดของนักศึกษาในช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 48(1), 120-135.

ภัสราวดี ชุติกุลพงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไทยในช่วง COVID-19. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 23(2), 67-81.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ศรีสะเกษ: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2566). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. สืบค้นจาก: https://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html

อธิวัฒน์ สายทอง, วารี นันทสิงห์, ธนิตา พรมชุลี, ประภัสสร สัมพันธ์พงษ์, อุทัยทิพย์ ลินไธสง, ชัชพงศ์ ประทุมทอง, และวนิดา สายทอง. (2566). ความเครียดและคุณภาพชีวิตในสถานการณ์ระบาดโรคตดิเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 2(3), 39-49.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). Research in Education. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.

Centers for Disease Control and Prevention. (2020). Social distancing: Keep a safe distance to slow the spread. Retrieved from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/social-distancing.html

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Jones, L., & Smith, K. (2021). The impact of returning to in-person education after COVID-19 on student stress levels. Journal of Educational Psychology, 113(5), 1024-1033.

Li, Z., Ge, J., Yang, M., Feng, J., Qiao, M., Jiang, R., & Zhou, H. (2021). Vicarious traumatization in the general public, members, and non-members of medical teams aiding in COVID-19 control. Brain, Behavior, and Immunity, 88(1), 916-919.

Moawad, R.A. (2020). Online learning during the COVID-19 pandemic and academic stress in university students. Revista Romaneasca Pentru Educatie Multidimensionala, 12(1), 100-107.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2020). Education: From disruption to recovery. Retrieved from: https://en.unesco.org/covid19/educationresponse

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc.,180.

Wong, T.W., Gao, Y., & Tam, W. W. (2021). Anxiety among university students during the COVID-19 pandemic in Hong Kong. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(15), 8420.

Zhao, N., Zhou, G., & Li, J. (2021). Factors influencing anxiety among Chinese university students during the COVID-19 pandemic. Asian Journal of Psychiatry, 62, 102635.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-03