การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อเขตสุขภาพที่ 4

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลิน มั่งคั่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
  • ทัศนีย์ สอนขำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
  • จุฬาลักษณ์ บุญมีรัตนโยธิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
  • บังอร อินทรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
  • จุไรรัตน์ ทนเสถียร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อ, การประเมินผล, การคัดกรองภาวะถดถอย, เขตสุขภาพที่ 4, แผนส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อ เขตสุขภาพที่ 4 โดยเน้นการป้องกันภาวะถดถอย
2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อ และ 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากการใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณคือคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุระดับเขตและบุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 280 คน กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกแบบจัดโควตา จำนวน 48 คน ในการพัฒนารูปแบบด้วยการสนทนากลุ่ม และเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน ในการประเมินผลลัพธ์ด้วยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม แนวทางสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าผลการประเมินโครงการทุกด้านมีค่าเฉลี่ยโดยรวมระดับมาก ด้านบริบทมีค่าเฉลี่ย ระดับมาก ( =3.95, S.D.=0.04) ปัจจัยความสำเร็จ คือบุคลากรมีทัศนคติที่ดี ผู้บริหารและทีมงานสนับสนุน รูปแบบการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อเขตสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านบริบท ควรประกาศนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบท (2) ด้านปัจจัยนำเข้าควรจัดกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อจัดระบบการดูแลที่เหมาะสม พัฒนาศักยภาพหมอครอบครัว จัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (3) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยกิจกรรมคัดกรองภาวะถดถอย ดูแลรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ จัดทำแผนดูแลสุขภาพระยะยาวในชุมชน และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความรอบรู้ให้กับครอบครัว ชุมชน พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) และพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ (4) ด้านผลลัพธ์ ควรกำหนดเป้าหมายที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนามีความเหมาะสม พบว่าผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะถดถอยร้อยละ 68.59 กลุ่มเสี่ยงที่พบได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ รวม 3 ด้าน ร้อยละ 68.54 ติดตามประเมินซ้ำพบผู้สูงอายุมีภาวะถดถอยดีขึ้น ร้อยละ 60.81 ปัญหา/อุปสรรค คือ ศักยภาพและอัตรากำลังของบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดการบูรณาการ ข้อเสนอแนะ พบว่าควรกำหนดแนวทางที่ชัดเจน เพิ่ม และพัฒนาบุคลากรขับเคลื่อนการจัดบริการคัดกรองภาวะถดถอยและส่งเสริมสุขภาพเป็นชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

References

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ. (2562). รายการข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://dopah.anamai.moph.go.th/25640112111.PDF

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด

นภัค นิธิวชิรธร. (2562). การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. วารสารศูนย์อยนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 13(31), 105-118.

เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา และนภัส แก้ววิเชียร. (2558). การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1018-1029.

บรรจบ แสนสุข, จินตนา พลมีศักดิ์, นริศรา อารีรักษ์ และถนอม นามวงษ์. (2566). การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่บริหารสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(3), 179-190.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, ลัดดาวัลย์ เตชางกูร และนวลใย พิศชาติ. (2560). ปัจจัยสนับสนุนระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อของเครือข่ายการพยาบาลโรคหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(2), 154-167.

เลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเขตสุขภาพที่ 4. (2566). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุไร้รอยต่อในเขตสุขภาพที่ 4 ปี 2566. โรงพิมพ์สระบุรี.

วัชรพล ในอรุณ, ยอดชาย สุวรรณวงษ์ และสุรัสดา นะสีดา. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางกายของจังหวัดสระบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(4), 755-785.

วิราภรณ์ ณรงค์ราช และมะลิวรรณ อังคณิตย์. (2565). ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบริการแบบไร้รอยต่อในการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565, 37(6).

สันติ ลาภเบญจกุล. (2560). ทิศทางความต้องการด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ: ลำสนธิโมเดล [เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม]. ประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2560, สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข.

สมิตตานันท์ ไชยคำ, กฤตบุญ คำทิพย์โพธิ์ทอง, ชินวุฒิ รัตนพัวพันธ์ และรุ่งนภา อุตมะธานี. (2566). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาอุทกภัย หมู่ที่ 2 บ้านโรงวัว ในเขตเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. (2565). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ (HDC). สืบค้นจาก https://noph.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2556). โครงการวิจัยบูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. รายงานการวิจัย. นครปฐม: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

World Health Organization. (2019). Integrated care for older people (ICOPE) implementation framework: Guidance for systems and services. World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241515993

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27