การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สมยศ แสงหิ่งห้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง
  • ขุมทรัพย์ ก้อนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเสริมสร้างสุขภาพจิต, ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงมีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูล

ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ SAWAENG HA MODEL ประกอบด้วย 1) S:School 2) A:Activity 3) W:Want 4) A:Acceptable 5) E:Ease 6) N: News 7) G:Guide 8) H:Handle และ 9) A:Achievement หลังเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง คะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับสูง (X ̅=35.55, S.D.=3.84) แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะเห็นได้ว่ารูปแบบฯ มุ่งเน้นในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความเข้าใจในบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมีผลทำให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการสร้างเสริมความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันในจิตใจของวัยรุ่นให้สามารถรับมือกับภาวะสุขภาพจิตในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมสุขภาพจิต. (2560ก). ‘กรมสุขภาพจิต’ รุกเข้าหาชุมชน วางรากฐานสุขภาพจิตดีทุกกลุ่มวัยสู่การยกระดับเป็น ‘Smart Citizen’. มติชน, 5.

กรมสุขภาพจิต. (2560ข). ห่วงวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

จิราภรณ์ ประเสริฐกุล. (2020). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย. วารสารสุขภาพจิตไทย, 25(2), 85-96.

เบญจมาภรณ์ ทศสูงเนิน, ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, และหรรษา เศรษฐบุปผา. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความเครียดของนักเรียนที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงการระบาดของโควิด-19. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(3), 170-185.

รวิพรรดิ พูลลาภ, กรรณิการ์ เทพกิจ, ฐิติมา ทาสุวรรณ, อนัญญา เหล่ารินทอง, วรัญญา มณีรัตน์ และขวัญหทัย ไชยอักษร. (2562). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การมีส่วนร่วม (PAR) ของโรงเรียนและภาคีเครือข่าย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยกาสะลองคำ, 2(1), 91-100.

วไลลักษณ์ พุ่มพวง, สาธกา พิมพ์รุณ, สุดารัตน์ เพียรชอบ, สุภาภัค เภตราสุวรรณ และฐินีรัตน์ ถาวร. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพใจโดยใช้สติต่อสุขภาวะทางจิตใจ ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(1), 34-51.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล และ โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2563). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย : การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(2), 136-149.

ศรีสกุล มงคลสุข. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือของผู้ปกครองกับความสำเร็จทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 18(2), 123-137.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ข้อมูลสุขภาพประชากรไทย ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

สุธิดา พลพิพัฒน์พงศ์, นุจรี ไชยมงคล และ ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2561). ความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(1), 40-49.

Amundsen, R., Riby, L.M., Hamilton, C., Hope, M., & McGann, D. (2020). Mindfulness in primary school childrenas a route to enhanced life satisfaction, positive outlook and effective emotion regulation. BMC psychology, 8(71), 1-15.

Cronbach, L.J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

Jorm AF. (2000). Mental health literacy: public knowledge and beliefs about mental disorders. The British Journal of Psychiatry, 177, 396-401.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Participation Action Research Reader (3 ed.). Geelong: Deakin University Press.

World Health Organization. (2023). Fact sheet: depression. Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-07