ประวัติการทำงาน อาการระบบทางเดินหายใจ และสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ค้าขายแผงลอยริมถนน, อาการระบบทางเดินหายใจ, สมรรถภาพปอด, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดระหว่างกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนกับกลุ่มเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนและกลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ที่ทำงานในอาคารปิด กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และเครื่องสไปโรมิเตอร์สำหรับทดสอบสมรรถภาพปอด แบบสัมภาษณ์ผ่านการประเมินค่าความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ในทุกข้อคำถาม และเครื่องสไปโรมิเตอร์ผ่านการสอบเทียบตามบริษัทผู้ผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบเปรียบเทียบด้วย Independent t test และทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Chi square test แสดงค่า Odds Ratio (OR) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ จาม ไอ และคัดจมูก ร้อยละ 17.5 ร้อยละ 15.0 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบพบว่า ผู้ประกอบอาชีพแผงลอยริมถนนมีสมรรถภาพปอดต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ เพศ อายุ การสูบบุหรี่ และระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีความเสี่ยงสมรรถภาพปอดผิดปกติกว่าเพศหญิง 3.01 เท่า (OR=3.01, p=.029) ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 5.06 เท่า (OR=5.06, p=.037) ผู้ที่มีประวัติทำงานมากกว่า 3 ปีมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีประวัติทำงานน้อยกว่า 3 ปี 60.27 เท่า (OR=60.27, p=.001) และผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี มีสมรรถภาพปอดมากกว่ากลุ่มผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 13.5 (OR=0.86, p=.045) การทำงานริมถนนมีผลต่อสมรรถภาพปอด ดังนั้นผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายควรลดปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ ได้แก่ ลดหรืองดการสูบบุหรี่ และลดระยะเวลาการอยู่ริมถนนในช่วงระยะเวลาพัก
References
กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง. พ.ศ. 2563. (5 ตุลาคม พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 80 ก, หน้า 30.
กรมอนามัย. (2561). หุ่นดี สุขภาพดี แค่ปรับ 4 พฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
ฌาน ปัทมะ พลยง. (2563). สุขภาพมูลฐานในผู้ประกอบอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ฌาน ปัทมะ พลยง, อนามัย เทศกะทึก, และนันทพร ภัทรพุทธ. (2558). เปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนนในเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 8(2), 7-20.
ชนพร พลดงนอก, ฌาน ปัทมะ พลยง, กิจจา จิตรภิรมย์, โยธิน พลประถม, ณัฐจิต อ้นเมฆ และรัชนก ขำจันทร์. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานแปรรูปไม้: กรณีศึกษาโรงงานขนาดเล็กแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 17(1), 53-65.
นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). อาหารริมทาง: เสน่าห์เมืองไทย เปิดประสบการณ์ใหม่ในเอเชีย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 47-60.
พรรณิภา สืบสุข, อัจฉริยา พงษ์นุ่มกุล, ดรุณี สุดคะนึง และเพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา. (2557). ปัจจัยทำนายสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(1), 79-92.
พลอยไพลิน คล้ายคลึง, สุนิสา ชายเกลี้ยง และยุพรัตน์ หลิมมงคล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลตรวจสมรรถภาพปอดของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ. วารสารพิษวิทยาไทย, 36(2), 14-27.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอด (สไปโรเมตรีย์). สืบค้นจาก https://thaichest.files.wordpress.com/2019/08/guidelinepft.pdf
สุปราณี คุณร้าน, นันทพร ภัทรพุทธ และทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของพนักงานโรงสีข้าว. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 4(2), 92-99.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
Bandowe, B.A.M., & Nkansah, M.A. (2016). Occurrence, distribution and health risk from polycyclic aromatic compounds (PAHs, oxygenated-PAHs and azaarenes) in street dust from a major West African Metropolis. Science of the Total Environment, 553, 439-449.
Calderon, K.B. (2015). Street mobile food vending: local policies, informality, and occupational health in immigrant communities, Doctoral dissertation, San Diego State University.
Chen, J., Soeroso, N.N., Bihar, S., & Siahaan, L. (2021). Correlation between carbon monoxide level in exhaled air and pulmonary function on grill street-vendors in Medan City. Journal of Endocrinology, Tropical Medicine, and Infectious Disease (JETROMI), 3(3), 85-90.
Dejsomritrutai, W., Nana, A., Maranetra, K.N., Chierakul, N., Charoenratanakul, S., Tscheikuna, J., et al. (2000). Reference spirometric values for healthy lifetime nonsmokers in Thailand. The Journal of the Medical Association of Thailand, 83(5), 457-66.
Doiron, D., Hoogh, K., Probst-Hensch, N., Fortier, I., Cai, Y., De-Matteis, S., et al. (2019). Air pollution, lung function and COPD: results from the population-based UK Biobank study. European Respiratory Journal, 54(1),1802140.
Ekhator, O.C., Udowelle, N.A., Igbiri, S. Asomugha, R.N., Frazzoli, C., & Orisakwe, O.E. (2018). Street foods exacerbate effects of the environmental burden of polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) in Nigeria. Environmental Science and Pollution Research, 25(6), 5529–5538.
Eltelt, R.M.H., Shafik, S.A., & Mohamed, S.S. (2023). Adverse health effects of climate change on pregnant women working outdoors. HIV Nursing, 23(2), 473-488.
Erick, P., Ntesang, M., Tumoyagae, T., Letsholo, B., Mbongwe, B., & Tapera, R. (2023). The Prevalence and Risk Factors of Self-Reported Respiratory and Other Health Symptoms among Street Vendors in Gaborone, Botswana. The Journal of Medical Research, 9(5), 116-128.
Glynos, C., Bibli, S. I., Katsaounou, P., Pavlidou, A., Magkou, C., & Karavana, V. (2018). Comparison of the effects of e-cigarette vapor with cigarette smoke on lung function and inflammation in mice. American Journal of Physiology-Lung Cellular and Molecular Physiology, 315(5), 662-672.
Hesam, M., Shakerkhatibi, M., Samadi, M.T., Poorolajal, J., Rahmani, A., & Rafieemehr, H. (2020). Long-term exposure to outdoor VOCs and lung function in urban adults: a cross-sectional study in Tabriz an industrialized city in the northwest of Iran. Human and Ecological Risk Assessment: An International Journal, 26(6), 1512-1528.
Keshavarzi, B., Sajjad, A.H., Moore, F., Delshab, H., & Soltani, N. (2020). Polycyclic aromatic hydrocarbons in street dust of Bushehr city, Iran: status, source, and human health risk assessment. Polycyclic Aromatic Compounds, 40(1), 61-75.
Kim, J.A., Park, J.H., & Hwang & W.J. (2016). Heavy metal distribution in street dust from traditional markets and the human health implications. International Journal of Environmental Research and Public Health, 13(8), 820.
Kitlertsirivatana, E.S. (2022). Street food vendors are Thailand’s economic lifeblood. Retrieved from: https://www.chiangmaicitylife.com/clg/living/community/street-food-vendors-are-thailands-economic-lifeblood/
Kongtip, P., Thongsuk, W., Yoosook, W., Chantanakul, S., & Singhaniyom, S. (2008). Health effects of air pollution on street vendors: A comparative study in Bangkok. Thai Journal of Toxicology, 23(1), 5-5.
Mbatchou-Ngahane, B.H., Afane-Ze, E., Chebu, C., Mapoure, N.Y, Temfack, E., & Nganda, M. (2015). Effects of cooking fuel smoke on respiratory symptoms and lung function in semi-rural women in Cameroon. International Journal of Occupational and Environmental Health, 21(1), 61-65.
Noomnual, S., & Shendell, D.G. (2017a). Risk of adult street vendor exposure to traffic-related air pollution in Bangkok, Thailand. Human and Ecological Risk Assessment: An International Journal, 23(2), 340-349.
Noomnual, S., & Shendell, D.G. (2017b). Young adult street vendors and adverse respiratory health outcomes in Bangkok, Thailand. Safety and Health at Work, 8(4), 407-409.
Occupational Safety and Health Administration (OSHA). General respiratory protection guidance for employers and workers. Retrieved from: https://www.osha.gov/publications/respiratory_protection_bulletin_2011
Polyong, C.P., & Thetkathuek, A. (2023). Comparison of prevalence and associated factors of multisystem health symptoms among workers in the gas station area, Thailand. Kesmas: Jurnal Kesehatan Masyarakat Nasional (National Public Health Journal), 18(3), 168-176.
Tashkin, D.P. & Roth, M.D. (2019) Pulmonary effects of inhaled cannabis smoke. The American Journal of Drug and Alcohol Abuse, 45(6), 596-609.
United States Environmental Protection Agency. Near roadway air pollution and health: frequently asked questions. Retrieved from: https://www.epa.gov/sites/default/files/2015-11/documents/420f14044_0.pdf.
Wang, C., Xu, J., Yang, L., Xu, Y., Zhang, X., Bai, C., et al. (2018). Prevalence and risk factors of chronic obstructive pulmonary disease in China: A national cross-sectional study. The Lancet, 391(10131), 1706-1717.
World Health Organization (WHO). Proximity to roads, NO2, other air pollutants and their mixtures. Retrieved from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK361807/
Wu, M.T., Lin, P.C., Pan, C.H., & Peng, C.Y. (2019). Risk assessment of personal exposure to polycyclic aromatic hydrocarbons and aldehydes in three commercial cooking workplaces. Scientific Reports, 9(1), 1661.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี