ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยมารดามีส่วนร่วมกระตุ้นการดูดกลืนต่อความสามารถในการดูดนมของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม ที่มีปัญหาการดูดกลืน ตึกทารกป่วย โรงพยาบาลน่าน
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การกระตุ้นการดูดกลืน, มารดามีส่วนร่วม, ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของมารดาในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล 3 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การมีส่วนร่วมดูแลในกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมดูแลในกิจกรรมการพยาบาล และศึกษาเปรียบเทียบผลการเพิ่มรอบกระตุ้นดูดกลืนของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม กับทารกที่ไม่ได้รับการเพิ่มรอบกระตุ้นดูดกลืน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือมารดาและทารกที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตึกทารกป่วย โรงพยาบาลน่าน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยมารดามีส่วนร่วมนวดกระตุ้นการดูดกลืน วันละ 4 ครั้ง กลุ่มควบคุมพยาบาลนวดกระตุ้นการดูดกลืน วันละ 2 ครั้ง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลกระตุ้นดูดกลืนในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่มีปัญหาการดูดกลืนโดยผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม มี 10 ขั้นตอน แบบบันทึกการมีส่วนร่วมของมารดา และแบบบันทึกปริมาณน้ำนมที่ให้ทางสายยาง เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วย สถิติ Chi-square Test และ Mann-Whitney-U Test ผลการวิจัย พบว่ามารดามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระดับปานกลาง ร้อยละ 56.6 มีส่วนร่วมดูแลในกิจวัตรประจำวัน ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.6 และมีส่วนร่วมดูแลในกิจกรรมการพยาบาล ระดับมาก ร้อยละ 66.6 จำนวนวันที่กินเองทางปากได้ทั้งหมดของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (X =16.7, S.D.=10.0) และ (X =10.3, S.D.=5.8) ตามลำดับ และจำนวนวันที่ใส่สายยางให้อาหารของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (X =16.4, S.D.=9.9) และ (X ̅=28.9, S.D.=18.7) ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.05) การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม ทำให้ทารกมีความสามารถในการดูดกลืนเพิ่มมากขึ้น
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ทารกคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์และวีณา จีระแพทย์ (2565). การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ. ด่านสุนทรการพิมพ์.
เจนจิรา แม้นประสริฐ, จริยา วิทยะศุภร และทิพวัลย์ ดารามาศ. (2566). ผลของการนวดปากสองวิธีต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 29(2). 133-144.
นัยรัตน์ ดุลยวิจักษณ์, พนิดา อยู่ชัชวาล และชมลรรค กองอรรถ. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนและการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่ได้รับการส่องไฟ โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(3), 92-103.
นิตยา อิสรโชติ. (2557). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยต่อความเครียดของมารดาเด็กป่วยหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรีดา อุ่นเสียม. (2560). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (ฉบับพิเศษ), 61-74.
เยาวภา พรมเสน, สิริพร วงควัชรไพบูลย, อุทัยทิพย ไชยศิลป และจุฑามาศ ไทนอ. (2564). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลกระตุ้นการดูดกลืนในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม ที่มีปัญหาการดูดกลืน ตึกทารกป่วย โรงพยาบาลน่าน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(2), 57-69.
Asadollahpour F, Yadegari F, Soleimani F & Khalesi N. (2015). The Effects of Non-Nutritive Sucking and Pre-Feeding Oral Stimulation on Time to Achieve Independent Oral Feeding for Preterm Infants. Iranian Journal of Pediatrics.25(3): e809. https://doi: 10.5812/ijp.25(3)2015.809.
Atay, F. Y., Ciftci, H. B., Sahin, O., Guran, O., Colak, D., Gok, N. R., et al. (2023). Evaluation of the Effect of Oral Motor Stimulation Exercises on Feeding Skills in Premature Infants. Medical Bulletin of Sisli Etfal Hospital, 57(2). 1-5.
Calk, P. (2019). Best practices for oral motor stimulation to improve oral feeding in preterm infants: a systematic review. Annals of Physiotherapy & Occupational Therapy, 2(5). 1-14
Kamity, R., Kapavarapu, P. K., & Chandel, A. (2021). Feeding Problems and Long-Term Outcomes in Preterm Infants-A Systematic Approach to Evaluation and Management. Children, 8(12), 1158. https://doi.org/10.3390/children8121158
KC, A., Basel, P. L., & Singh, S. (2020). Low birth weight and its associated risk factors: Health facility-based case-control study. Plos one, 15(6), e0234907.
Iowa Model Collaborative. (2017). Iowa model of evidence-based practice: Revisions and validation. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 14(3), 175-182.
Namprom, N., Woragidpoonpol, P., Altimier, L., Jintrawet, U., Chotibang, J., & Klunklin, P. (2020). Maternal participation on preterm infants care reduces the cost of delivery of preterm neonatal healthcare services. Journal of Neonatal Nursing, 26(5), 291-296.
Schepp, K. (1995), Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. (Unpublished manuscript). University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA.
UNICEF. (2023). low-birthweight. Retrieved from: https://data.unicef.org/topic/nutrition/low-birthweight.
World Health Organization. (2020). WHO recommendations for care of the preterm or low birth weight infant. Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี