การศึกษาดัชนีการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ

ผู้แต่ง

  • นวพล แก่นบุปผา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นุสรา ประเสริฐศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิราพร สุระพล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมลชนก เวฬุวนารักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรกนก พอกพูน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรรณิการ์ พาคำวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤติยา ไขบรรเทา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กวินนาถ ลาพ้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัญญารัตน์ นาคคล้ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กันยารัตน์ แสงส่อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ดัชนีการจัดการความปวด, ความปวด, มะเร็งศีรษะและลำคอ

บทคัดย่อ

ปัญหาสำคัญในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอคือความปวด การจัดการความปวดที่เพียงพอส่งผลคุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น แต่ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับดัชนีการจัดการความปวดในมะเร็งศีรษะและคอ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ โดยใช้ดัชนีการจัดการความปวด (Pain Management Index: PMI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ จำนวน 150 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณลักษณะเกณฑ์การคัดเข้า ใช้แบบสอบถามความปวด Brief Pain Inventory (BPI) ฉบับภาษาไทย คุณภาพเครื่องมือวิจัยมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และค่าความเที่ยงของกลุ่มตัวอย่างนี้ เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 65.33 อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 59.31ปี (S.D.±11.22) ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือ nasopharyngeal ร้อยละ 52.00 ส่วนใหญ่มีความปวดปานกลางร้อยละ 58.00 ได้ยาบรรเทาความปวด paracetamol ร้อยละ 36.00 รองลงมาคือ tramadol ร้อยละ 31.33 ดัชนีการจัดการความปวดของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ มีคะแนน -1 ร้อยละ 50.00 -2 ร้อยละ 12.00 และ -3 ร้อยละ 2.00 รวมค่า PMI ที่ระบุได้ยาไม่เพียงพอกับความปวดทั้งหมดร้อยละ 64.00 และผลกระทบความปวดส่งผลกระทบต่อความสุขในชีวิตประจำวันมากที่สุด และรองลงมาคือการนอนหลับ

References

Anekar, A. A., Hendrix, J. M., & Cascella, M. (2023). WHO analgesic ladder. In StatPearls [Internet]: StatPearls Publishing.

Bramati, P., & Bruera, E. (2022). The end of the second step of the World Health Organization analgesic ladder? Annals of Oncology, 33(12), 1212-1213.

Chaudakshetrin, P. (2009). Validation of the Thai Version of Brief Pain Inventory (BPI-T) in cancer patients.

Cleeland, C. S., Gonin, R., Hatfield, A. K., Edmonson, J. H., Blum, R. H., Stewart, J. A., & Pandya, K. J. (1994). Pain and its treatment in outpatients with metastatic cancer. New England Journal of Medicine, 330(9), 592-596.

Cramer, J. D., Johnson, J. T., & Nilsen, M. L. (2018). Pain in head and neck cancer survivors: prevalence, predictors, and quality-of-life impact. Otolaryngology–Head and Neck Surgery, 159(5), 853-858.

Gotur, A. J., & Chatterjee, A. (2023). Pain Severity and Quality of Life Following Major Mandibular Reconstructive Surgery in Head Neck Cancer. Indian Journal of Pain, 37(1), 20-26.

Hinther, A., Nakoneshny, S.C., Chandarana, S.P., Wayne Matthews, T., & Dort, J.C. (2018). Efficacy of postoperative pain management in head and neck cancer patients. Journal of Otolaryngology-Head & Neck Surgery, 47(1), 29.

Howren, M.B., Seaman, A., Super, G.L., Christensen, A.J., & Pagedar, N. A. (2023). Examination of predictors of pain at 12 months Postdiagnosis in head and neck cancer survivors. Otolaryngology–Head and Neck Surgery, 169(6), 1506-1512.

Khawaja, S.N., & Scrivani, S.J. (2022). Head and Neck Cancer-Related Pain. Dental Clinics of North America, 67(1), 129-140.

Kouri, M., Rekatsina, M., Vadalouca, A., Siafaka, I., Vardas, E., Papadopoulou, et al. (2022). Pharmacological management of neuropathic pain after radiotherapy in head and neck cancer patients: a systematic review. Journal of Clinical Medicine, 11(16), 4877.

Magaña, L.C., Murati, S., Riffitts, M., Harrison, C., Harris, A., Sowa, G., et al. (2021). Subjective and objective measures in assessing neck disability and pain in head and neck cancer. The Laryngoscope, 131(9), 2015-2022.

Mody, M.D., Rocco, J.W., Yom, S.S., Haddad, R.I., & Saba, N.F. (2021). Head and neck cancer. The Lancet, 398(10318), 2289-2299.

National Cancer Institute. (2024). Hospital-based cancer registry 2022. National Cancer Institute

Prasertsri, N., Phogsiri, P., Wamalun, C., Taptimhin, S., Teeyapan, W., & Charoennukul, A. (2023). Health Literacy, Symptoms and Self-Symptom Management of Head and Neck Cancer Patients’ ongoing Radiation Treatment. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 33(1), 161-174.

Schaller, A.K.S., Peterson, A., & Bäckryd, E. (2021). Pain management in patients undergoing radiation therapy for head and neck cancer–a descriptive study. Scandinavian Journal of Pain, 21(2), 256-265.

Sung, H., Ferlay, J., Siegel, R. L., Laversanne, M., Soerjomataram, I., Jemal, A., et al. (2021). Global cancer statistics 2020: Globocaan estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 71(3), 209-249.

Zebralla, V., Wichmann, G., Pirlich, M., Hammermüller, C., Berger, T., Zimmermann, K., et al. (2021). Dysphagia, voice problems, and pain in head and neck cancer patients. European Archives of Oto-Rhino-Laryngology, 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26