การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ยาณะเรือง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • คณาพัณณ์ ล็บครุฑ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • รุจิรา มาตขาว โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
  • อิสรียาภรณ์ สีสอง ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0000-0001-9325-5157
  • อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • มณฑิรา จันทวารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อดิศักดิ์ พละสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, นักเรียน, โรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ของจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ทุกข้อมีค่าระหว่าง 0.50 ถึง 1 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟามีค่าเท่ากับ 0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Kruskal-Wallis Test
ผลการวิจัยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.78 รับเงินเฉลี่ยต่อวัน 35.59 บาท ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับแม่ ร้อยละ 64.97 ที่มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ร้อยละ 34.52 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=1.58, S.D.=0.32) ด้านอาการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ (X ̅=1.96, S.D.=0.41) และด้านความสุขสบายทางสังคมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (X ̅=1.28, S.D.=0.34) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในโรงเรียนขนาดเล็ก (X ̅=39.89, S.D.=8.39) ขนาดกลาง (X ̅=39.62, S.D.=8.54) และขนาดใหญ่ (X ̅=38.63, S.D.=8.12) ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากไม่ต่างกัน (p-value=.791) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการวางแผนและพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยไม่ละเลยโรงเรียนในทุกขนาด จึงจะช่วยให้การดูแลสุขภาพฟันของนักเรียนเป็นไปอย่างทั่วถึงและปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ การให้ความรู้ด้านสุขภาพฟัน เช่น การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหาร

Downloads

References

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, พรทิพย์ อ้นเกษม, อภิชาติ อนุกูลเวช และดาวประกาย ระโส. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 315-329.

จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, อรวรรณ นามมนตรี, และวรวัฒน์ แก่นจันทร์. (2562). สภาวะสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 131-141.

ธิดารัตน์ นวนศรี และทรงชัย ฐิตโสมกุล. (2557). การดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมิน CPQ11-14 เพื่อวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วารสารทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 37(3), 327-340. สืบค้นจาก https://doi.org/10.58837/CHULA.CUDJ.37.3.7

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (2565). ระบบสารสนเทศโรงเรียนในแต่ละเครือข่าย. สืบค้นจาก https://ubn1.go.th/site/index

สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

สำนักทันตสาธารณสุข. (2565). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา. สืบค้นจาก https://dental.anamai.moph.go.th/th/cms-of-545/177337

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. (2564). ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมและการดำเนินงานกับประชากร: การนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรฉัตร คุรุรัตนะ และฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ ทันตสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 115-126.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Berhan Nordin, E. A., Shoaib, L. A., Mohd Yusof, Z. Y., Manan, N. M., & Othman, S. A. (2019). Oral health-related quality of life among 11–12 years old indigenous children in Malaysia. BMC Oral Health, 19, 1-10

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Locker, D. (1998). Issues in measuring change in self‐perceived oral health status. Community dentistry and oral epidemiology, 26(1), 41-47.

St Leger, L. (2001). Schools, health literacy and public health: possibilities and challenges. Health promotion international, 16(2), 197-205. https://doi.org/10.1093/heapro/16.2.197.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

ยาณะเรือง ศ. ., ล็บครุฑ ค. ., มาตขาว ร. ., สีสอง อ. ., จันทวารีย์ ป., วงศ์วัฒนาเสถียร อ. ., จันทวารีย์ ม. ., & พละสาร อ. . (2025). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e270813. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270813