การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉินจากโรงพยาบาลทั่วไป ไปยังโรงพยาบาลศักยภาพสูงกว่า

ผู้แต่ง

  • ศรีทุม คำดา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ลินธร วัฒนลักษณ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ถาวร ล่อกา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การส่งต่อ, ผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน และศึกษาผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างดำเนินการสุ่มแบบเจาะจงกับบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำนวน 80 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบบริการพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบ แบบประเมินความรู้ แบบสำรวจการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกอุบัติการณ์ความปลอดภัยของผู้ป่วย ผ่านการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ระหว่าง 0.87-1.00 และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.91, 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Samples t-test และ Fisher’s exact probability test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบบริการพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนส่งต่อ ระหว่างส่งต่อ และระยะหลังส่งต่อ โดยรวมบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉินส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น (X ̅=4.18, S.D.=0.37) ด้านผลลัพธ์หลังใช้รูปแบบ พบว่าบุคลากรทางการพยาบาล มีความรู้เกี่ยวกับการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลทั่วไป ไปยังโรงพยาบาลศักยภาพสูงกว่า เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สามารถปฏิบัติกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.00 เป็นร้อยละ 96.00 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) อุบัติการณ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และบุคลากรทางการพยาบาลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.20, S.D.=0.27) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถปฏิบัติงานของทีมบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานส่งต่อ ผู้ป่วยได้รับบริการทางการพยาบาลที่ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

References

กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง, นันทนลิน นาคะกุล, เสาวนุช สมศรี, ณรงค์ศักดิ์ วันดี และศิริอร สินธุ. (2565). การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตระหว่างสถานพยาบาล. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล.

จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์, มยุนา ศรีสุภนันต์, สุรีย์ จันทรโมรี และประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 89-97.

พรทิพย์ เนตรแสงศรี. (2565). ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลนาแห้ว จังหวัดเลย. เลย: กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย.

โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. (2566). รายงานการส่งต่อผู้ป่วย. (เอกสารอัดสำเนา).

สุภาวดี สุทธิอาจ และสุบรรณ อาจสมัย. (2566). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี.

สุวิภา นิตยางกูร, สุคนธ์ เมฆทรงกลด, พิทยา สร้อยสาโรง และวราภรณ์ อ่าช้าง. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. (2562). แผนกลยุทธ์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561- 2580). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). การจัดทำมาตรฐาน หลักเกณฑ์เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง.

สภาการพยาบาล. (2565). การส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Lyphout, C., Bergs, J., Stockman, W. & Deschilder, K. (2019). Patient safety incidents during interhospital transport of patients: A Prospective Analysis. International Emergency Nursing, 36(1), 1123-1129.

Holloway, I.W. (2015). Qualitative research in nursing and health care. 3rded. India: Laserwords Privates.

Holter, I. M. & Schawartz, B. D. (2019). Action research: What is it? How has it been used and how can it be used in nursing?. Journal of Advanced Nursing, 18(2), 298-304.

Smit, M., Absalom, A. R., Droogh, J. & Zijlstra, J. G. (2018). Transferring the critically ill patient: Are we there yet?. Critical Care, 19(1), 749-756.

Vos, G.D. (2016). Problems in interhospital pediatric intensive care transport in The Netherlands: Results from a survey of general pediatricians. Intensive Care Medicine, 29(1), 1555-1559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20