ความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ ชิราวุฒิ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จุฑามาศ ปุราชะทำเม โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ธัญรัตน์ อินธิยาย ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
  • อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • มณฑิรา จันทวารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุรัตนา เหล่าไชย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วรรวิษา ตรีสูนย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การรับรู้, สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย, ความเครียด, นักศึกษา, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อม การรับรู้ กับความเครียดของนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2564 ประชากร คือนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย การรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และความเครียดของนักศึกษา ตรวจสอบความตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ทุกข้อมีค่าระหว่าง 0.66 ถึง 1 วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82, 0.97 และ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ โดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.38 เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.07 (S.D.=0.40) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 6,482 บาทต่อเดือน (S.D.=4,964) ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 95.00 พักอาศัยที่หอพักเอกชน ร้อยละ 70.63 ดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 41.88 สูบบุหรี่ ร้อยละ 1.88 สภาพแวดล้อมวิทยาลัยไม่เอื้ออำนวย ร้อยละ 51.25 การรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในระดับมาก ร้อยละ 70.00 และความเครียดของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 54.38 สภาพแวดล้อมวิทยาลัยไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด (OR=1.15; 95% CI=0.61-2.14; p-value=.65) และการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด (OR=1.25; 95% CI=0.63-2.49; p-value=.50) แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม การรับรู้ กับความเครียดอาจยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการศึกษาและสุขภาวะทางจิตใจยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

Downloads

References

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th.

กรมสุขภาพจิต. (2562). รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย แยกตามช่วงอายุ. สืบค้นจากhttps://www.dmh.go.th.

กรมสุขภาพจิต. (2563). ความเครียดที่กระทบสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th.

กรมสุขภาพจิต. (2564). โควิด-19 กับสุขภาพจิต. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/covid19.

กฤชกันทร สุวรรณพันธ์, เสาวลักษณ์ ศรีดีาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์

และคณะ (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-147.

กาญจนา ลือมงคล. (2564). ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 41(2), 11-20.

คีรีบูน จงวุฒิเวศร์, สมพร ร่วมสุข และวรรณภา แสงวัฒนะกุล. (2547). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้และความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา และพรชนา กลัดแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 14-28.

มัณฑนรัตน์ ทรงเกียรติศักดิ์, สุธัญญารัตน์ ประชานันท์, อรุณโรจน์ นุเสน และสุนันทา ชัยงาม. (2565). ความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารทันตาภิบาล, 33(1), 86-98.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. (2563). สรุปข้อมูลงานประกันคุณภาพการศึกษา ภาควิชาทันตสาธารณสุข. อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. (2564). สรุปข้อมูลกลุ่มงานวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา

ปงบประมาณ 2564. อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา และกนกรัตน์ สุขะตุงคะ. (2543). การพัฒนาแบบวัดความเครียดในคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 45(3), 237-250.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. รายงานวิจัยฉบับบสมบูรณ์. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

อรวรรณ ศิลปะกิจ. (2551). แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(1), 177-185.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

HengLi, H., Liu, S.-M., Yu, X.-H., Tang, S.-L., & Tang, C.-K. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19): Current status and future perspectives. Retrieved from https://reader.elsevier.com.

Kasl, S. V., & Cobb, S. (1966). Health behavior, illness behavior and sick role behavior. Archives of Environmental Health, 12, 246-266.

Singhal T. (2020). A Review of Coronavirus Disease-2019 (COVID-19). Indian journal of pediatrics, 87(4), 281-286. https://doi.org/10.1007/s12098-020-03263-6.

World Health Organization. (2020). Global surveillance for human infection with novel coronavirus (2019-nCoV). Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/10665/336097/WHO-2019-nCoV.

World Health Organization. (2021). COVID-19-WHO situation reports. Retrieved from https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand-covid19.

Zieky, M. J. (1989). Methods of setting standards of performance on criterion-referenced tests. Studies in Educational Evaluation, 15(4), 335–338.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

ชิราวุฒิ ก. ., จันทวารีย์ ป. ., ปุราชะทำเม จ., อินธิยาย ธ. ., วงศ์วัฒนาเสถียร อ. ., จันทวารีย์ ม., เหล่าไชย ส., & ตรีสูนย์ ว. . (2025). ความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา . วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e271015. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/271015