การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอยติดเชื้อ, ขยะติดเชื้อในชุมชน, รูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรคในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนและพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหา โดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง 61 คน และการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่มๆ ละ 10 คน พบว่า 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ขาดนโยบายและแผนงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและขาดบุคลากรที่มีความรู้ 2) หน่วยบริการสาธารณสุขขาดแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่ส่งกลับไปรักษาตัวในชุมชน 3) ผู้เกี่ยวข้องมีปัญหาในการคัดแยก รวบรวม ขนย้าย และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ระยะที่ 2 ยกร่างรูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน ได้รูปแบบ 4 M6S Model สำหรับให้ อปท. หน่วยบริการสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนปฏิบัติ ดังนี้ M1(Man) การกำหนดหน้าที่องค์กรและสร้างเครือข่าย M2 (Management and Money) สร้างระบบการจัดการและงบประมาณ M3(Maturity) สร้างแนวทางขับเคลื่อนโดยชุมชน M4 (Memorandum of Understanding) สร้างนโยบายสาธารณะและข้อตกลงร่วมกัน 6S ได้แก่ S1(Service) จัดบริการในชุมชนและสถานบริการ S2(System) ระบบติดตามมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน S3(Social Information)ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง S4(Separate) การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน S5(Supervising) การนิเทศติดตามให้กำลังใจ S6(Support) จัดระบบสนับสนุนที่เหมาะสม ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบและปรับปรุงให้เหมาะสม ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า อปท. มีนโยบายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 83.33 หน่วยบริการสาธารณสุขปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 100 อปท. และผู้ป่วยที่มีขยะติดเชื้อมีการกำจัดได้ถูกต้อง ร้อยละ 96.00
Downloads
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2557. สืบค้นจาก https://env.anamai.moph.go.th/th/media-eha/205489
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). โปรแกรมกำกับติดตามมูลฝอยติดเชื้อ. สืบค้นจาก http://e-manifest.anamai.moph.go.th/
กาญจนา พึ่งฉลาด. (2563). การศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน. วารสารการจัดการมูลฝอย, 12(3), 45-59.
ฐิติรัตน์ ทองสุข. (2565). การพัฒนากระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับชุมชน. วารสารการพัฒนาและการจัดการทรัพยากร, 10(4), 112-126.
นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร, 44(2), 138-150.
วนิดา จันทร์สวัสดิ์, มนพร วงศ์สุนทรชัย และกำพล นันทพงษ์. (2565). การพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน: กรณีศึกษาผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านอำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยการพยาบาล, 18(1), 41-54. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248487/170798
ศุภลักษณ์ ดำรงค์เชื้อ. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน จังหวัดภูเก็ต. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 46(3), 50-64.
สมัชชาอนามัยโลก. (2566). การจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและของเสียประเภทต่างๆ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม: ปัญหามูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 46(3), 52-59.
สุกัญญา วรรณาศิริ. (2564). การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาแผนงานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน. วารสารสาธารณสุขชุมชน, 8(2), 22-34.
สุภาพร ปานทอง. (2561). การศึกษาการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม, 14(1), 88-101.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. (2566). การตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 1. สืบค้นจาก https://sbo.moph.go.th/sbo/file/audit/2567
McMillan, J.H. & Schumacher, S. (2001). Research in education: A conceptual introduction (5thed.). Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี