การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ประคองสิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
  • สุคนธ์ทิพย์ อรุณกมลพัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, รูปแบบ, ประสิทธิผล, พัฒนาการเด็กปฐมวัย, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 220 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ปัจจัยทำนายพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบพหุโดยใช้การวิเคราะห์ Multiple logistic regression ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 75 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent, Paired sample t-test
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ ความรู้ของผู้ปกครอง การรับรู้ความรุนแรงของเด็กที่มีพัฒนาการช้า การมีส่วนร่วมของชุมชน แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลเด็กในครอบครัว โดยมีอำนาจทำนายที่ร้อยละ 75.7 รูปแบบการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการ พชอ. คือ 2S2CBMI-WANYAI Model ประกอบด้วย 1) การกำหนดโครงสร้างและกำหนดนโยบาย 2) ระบบคัดกรองที่ครอบคลุม 3) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ 4) การออกแบบสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการกระตุ้นพัฒนาการ 5) สร้างความตระหนักและความผูกพันของประชาชนในองค์กร 6) การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 7) การปรับเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการให้ทันสมัยและล้อตามบริบทของพื้นที่ การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความรู้ ความเชื่อในสมรรถนะแห่งตน แรงสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก พฤติกรรมการดูแลเด็กของพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กในครอบครัว สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p value<.001) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพของพ่อแม่ และประชาชนในการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการ พชอ. อำเภอหว้านใหญ่ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์

Downloads

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/delaydspm64?year=2023.

ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2565. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 18(1), 51-68.

นันทพร ศรีนอก. (2556). รูปแบบการดำเนินงานการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ศรีเรือน ดีพูน. (2562). ประสิทธิผลของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอในพื้นที่นำร่องอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน, 7(2), 263-281.

ศิวภรณ์ เงินราง. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2), 108-116.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2563 สถาบันอนามัยเด็กแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานประจำปี 2565 สถาบันอนามัยเด็กแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. (2564). ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัย HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. สืบค้นจาก https://mdh.hdc.moph.go.th/hdc/admin/log_dataexchange.php.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่. (2563). ข้อมูลบริหารจัดการด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. สืบค้นจาก https://hcode.moph.go.th/code/16037.

สุจินดา สุขกำเนิด. (2560). โครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน.วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(4). 16-27.

อัจฉรา ผาดโผน. (2562). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัด ศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(1), 123-138.

อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร,และปราณี พงษ์จินดา. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย: กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขตกองทัพภาคที่ 3. สืบค้นจาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/kmresearchperson/download/?did=204972&id=73914&reload=

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634. https://doi.org/10.1002/(SICI)1097-0258(19980715)17:14<1623::AID-SIM871>3.0.CO;2-S

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Deakin University Press.

Lemeshow, S., & Hosmer, D. W. (1990). Applied logistic regression. New York, NY: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ประคองสิน ก. ., & อรุณกมลพัฒน์ ส. (2024). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 4(3), e271249. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/271249