ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายวิชาเรียนกายภาพบำบัดกับคะแนนรายวิชาการฝึกปฏิบัติ ทางคลินิกของรูปแบบการเรียนชนิดโมดูล สำหรับนักศึกษากายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี

Main Article Content

กชพัช เขียวเม่น
ศศิธร คงอ้วน
ไพโรจน์ สุรประภาพิชย์
นิสาศรี เสริมพล

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดลมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนสอนเป็นชนิดโมดูลหรือชุดการเรียนในรายวิชาเรียน 4 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ หัวใจและการไหลเวียนโลหิต และกายภาพบำบัดทางเด็ก ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการเรียนของรายวิชาเรียนในแต่ละสาขานักศึกษาจะได้รับการฝึกปฏิบัติทางคลินิกของสาขานั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของการเรียนการสอนชนิดโมดูล


วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายวิชาเรียนกายภาพบำบัดกับรายวิชาการฝึกปฏิบัติทางคลินิก


วิธีการวิจัย: ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลคะแนนสอบของแต่ละรายวิชาของนักศึกษาสาขากายภาพบำบัด ประจำปีการศึกษา 2557-2559 จำนวน 195 คน มาวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชาเรียนกับคะแนนฝึกปฏิบัติทางคลินิก


ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของรายวิชาการฝึกปฏิบัติทางคลินิกมีค่าสูงกว่ารายวิชาเรียนในทุกสาขา จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ารายวิชากายภาพบำบัดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 5 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวิชาการฝึกปฏิบัติทางคลินิกที่เน้นการฝึกปฏิบัติทางคลินิกในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในระดับต่ำ (adjusted r2=0.048) ขณะที่กลุ่มรายวิชาสาขาอื่น ๆ  ไม่พบค่าความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญของคะแนนระหว่างรายวิชาเรียนและการฝึกปฏิบัติทางคลินิก


สรุปผล: การศึกษาครั้งนี้ มีเพียงรายวิชากายภาพบำบัดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 5 ที่ส่งผลต่อรายวิชาการฝึกปฏิบัติทางคลินิก อาจเป็นผลมาจากการเรียนของรายวิชานี้มีเนื้อหาของกายวิภาคศาสตร์และชีวกลศาสตร์ของกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งนักศึกษานำไปประยุกต์ใช้การฝึกปฏิบัติทางคลินิกได้ง่าย  ขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างคะแนนรายวิชาเรียนกายภาพบำบัดในระบบประสาท กายภาพบำบัดในระบบหายใจ หัวใจ และการไหลเวียนโลหิต และกายภาพบำบัดในเด็ก กับการฝึกปฏิบัติทางคลินิก ซึ่งอาจเกิดจากเนื้อหาการเรียนในรายวิชาเหล่านี้มีความจำเพาะค่อนข้างมากต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติทางคลินิก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Tadawattanawit S. The characteristics of the graduates in accordance with the development of Thailand according to the“Thailand 4.0”economic model. Dusit Thani College Journal. 2018;12(2):404-16.

Karthikeyan K, Kumar A, A B, D R. Integrated modular teaching in undergraduate medicine. Natl Med J India. 2014;27:90-4.

Faculty of Physical Therapy, Mahidol University. Bachelor of Science (Physical Therapy) course updated 2012 [Report]. 2012.

Ministry of Education announcement on Physical Therapy undergraduate standard qualifications, 2013 [Internet]. [cited 9 Nov 2017]. Available from:http://www.mua.go.th/ users/tqf-hed/news/data6/tqfkj_bach_physical. pdf.

Buhat-Mendoza DG, Mendoza JNB, Tianela CT, Fabella EL. Correlation of the academic and clinical performance of Libyan nursing students. J Nurs Educ Pract. 2014;4(11):82-90.

Rheault W, Shafernich-Coulson E. Relationship between academic achievement and clinical performance in a Physical Therapy education program. Phys Ther. 1988;68(3):378-80.

Bayliss AJ, Warden SJ. A hybrid model of student-centered instruction improves physical therapist student performance in cardiopulmonary practice patterns by enhancing performance in higher cognitive domains. J Phys Ther Educ. 2011;25(3):14-20.

Lawrence G. Florida modules on generic teacher competencies: module on modules: Florida: The University of Florida; 1973.

Yowcharoensuk C, Udomtat T. The training packages development on physical therapy clinical teaching for clinical instructor. J Edu NU. 2017;19(4): 78-94.

Classroom learning experience management [Internet]. [cited 18 Jan 2019]. Available from: https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/ci/swu/learn2.pdf.

Chierakul N, Kachintorn U, Perawatanatuk R, Naruman C. Clinical sill can be more developed than medical knowledge after finish training in internal medicine. Siriraj Med Bull. 2009; 2(3):116-20.

Meunya S, Nualthong W, Thongtang P, Thepthongkam D. Factors influlencing nursing skills on perception of student nurses after their practiced in principles and techniques in nursing practicum, Boromarajonani college of nursing, Uttaradit. J Nurs Health Sci. 2014; 8(3): 200-211.

Kongoun S, Sermpon N, Suraprapapich P, Nuntapornsak A, Klomjai W, Vongsirinavarat M. The development of the clinical practice rubric assessment form for undergraduate Physical Therapy students at Mahidol University. JRM. 2019;32(1):75-97.

The impact of using modules in the teaching and learning of English in Malaysian Polytechnics: an analysis of the views and perceptions of English language lectureres [Internet]. [cited 16 Nov 2019]. Available from: http://www.polimelaka.edu.my/portalpmk/images/images/JPA/research/cmc_mab.pdf.

Suwannakeeree W, Jullmusi O, Tangkawanich T. Learning management using simulation scenarios for nursing students. JNSCU. 2016;28(2):2-13.