การศึกษาโอกาสในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นด้วยการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

Thitirat Chaichana

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นด้วยการแพทย์แผนไทยของผู้ป่วยอาสาสมัครในโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีวิธีการศึกษาคือการทบทวนเอกสารตำราเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมทางการแพทย์แผนปัจจุบันและตำราการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและติดตามประเมินผลของกรณีศึกษา จำนวน 23 ราย โดยใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม


              ผลการศึกษาพบว่าโรคลมจับโปงของการแพทย์แผนไทยมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคข้อเข่าเสื่อมของการแพทย์แผนปัจจุบันแต่เป็นเพียงระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยพบอาการปวด บวม ติดขัดข้อ มีสาเหตุเกิดจากการคั่งอั้นของลมและเลือดลม ซึ่งแพทย์แผนไทยมีองค์ความรู้ในการรักษาด้วยการใช้หัตถเวช (การรักษาด้วยมือ) โดยมีหลักการรักษาเพื่อลดการกำเริบของลมและเลือดลมที่แทรกบริเวณมัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณขาเข่าและกระตุ้นการไหลของเลือดลม ไปเลี้ยงบริเวณรอบๆ ข้อเข่า จากการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยอาสาสมัครจำนวนทั้งหมด 23 ราย พบว่าหายจากอาการบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 100 และเมื่อติดตามผลหลังยุติการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน อาการไม่กลับมากำเริบอีก ร้อยละ 82.60 และกลับมามีอาการกำเริบอีก ร้อยละ 17.40


              จากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่าแพทย์แผนไทยมีโอกาสในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นและเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการในระยะเริ่มต้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ