การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
การส่งบทความให้แนบมา 2 ไฟล์ ได้แก่
1. ไฟล์นิพนธ์ต้นฉบับ
2. ไฟล์ที่ลบชื่อและที่ยอู่ของผู้นิพนธ์เพื่อใช้ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ขึ้นต้นชื่อไฟล์ว่า no name แล้วต่อด้วยชื่อย่องานวิจัยโดยสังเขป - นิพนธ์ต้นฉบับที่ส่งเข้าระบบภายหลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป จะต้องระบุเลขที่จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ลงในบทความ
- สำหรับงานวิจัยที่มีเลขที่จริยธรรมการวิจัย ให้ท่านแนบสำเนามาด้วย
- กรุณาตรวจสอบ templete วารสารอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการแก้ไขตั้งแต่กระบวนการส่งบทความเพื่อประเมิน ได้แก่ ลำดับของข้อมูล แลัรูปแบบการอ้างอิงตามตัวอย่างที่กำหนด
คำแนะนำผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ วารสารหมอยาไทยวิจัย
คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
นิยาม
-
- นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ ระเบียบวิธีศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อสรุป กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่องรวมแล้วไม่ควรเกิน 15 หน้าพิมพ์กระดาษ A4
- บทปริทัศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นข้อความย่อหน้าเดียว คำสำคัญ บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องรวมแล้วไม่ควรเกิน 10 หน้า พิมพ์กระดาษ A4
- ปกิณกะ (Miscellaneous) เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายบทความต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บทความพิเศษ (Special Article) เป็นบทความประเภทกึ่งบทปริทัศน์ กับบทความฟื้นวิชาที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นพิเศษ ข่าว หรือการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก
การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ
-
- กระดาษที่ใช้ควรเป็นกระดาษ A4 ให้ระยะขอบบนและซ้ายเท่ากับ 1.5 นิ้ว ระยะขอบล่างและขอบขวาเท่ากับ 1 นิ้ว ประกอบด้วย
- หน้าที่ 1 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
- ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วม (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษา (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อผู้นิพนธ์ที่ให้การติดต่อ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อบทคัดย่อ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- เนื้อหาในบทคัดย่อ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ ความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
- หัวข้อคำสำคัญ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ
- คำสำคัญ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา โดยกำหนดให้ระบุเพียง 3 คำ และแยกคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
- หน้าที่ 2 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
- ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วม (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษา (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อผู้นิพนธ์ที่ให้การติดต่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อบทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- เนื้อหาในบทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ ความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
- หัวข้อคำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ
- คำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา โดยกำหนดให้ระบุเพียง 3 คำ และแยกคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
- หน้าที่ 3 หรือส่วนเนื้อหา กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ และหัวข้อเรื่องให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาในแต่ละหัวข้อเรื่องให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
- บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นของการศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลทางวิชาการ พร้อมทั้งจุดมุ่งหมายอย่างคร่าวๆ พร้อมเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านรู้ว่าจะตอบคำถามอะไร อย่างกระชับ และชัดเจน
- วัตถุประสงค์การวิจัย ควรเขียนเป็นความเรียงต่อเนื่องกันในย่อหน้าเดียว ใช้ภาษาที่สั้นและกระชับ กรณีมีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะให้รวมเป็นวัตถุประสงค์เดียว
- ระเบียบวิธีศึกษา เขียนชี้แจงแยกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ คือ วัสดุ (Material) ให้บอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมาศึกษา เช่น ผู้ป่วย คนปรกติ สัตว์ พืช รวมถึงจำนวนและลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา ต้องบอกถึงการอนุญาตจากผู้ที่เข้ารับการศึกษา และการยอมรับจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนวิธีการศึกษา (Method) เริ่มด้วยระบุรูปแบบวิธีการศึกษา (study design) เช่น randomized, double blind controlled trial หรือ descriptive study หรือ quasi-experimental design การสุ่มตัวอย่าง (randomization) เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบบหลายขั้นตอน วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา (interventions) เช่น วิธีการรับยาที่ใช้ในการรักษา ชนิดและขนาดของยาที่ใช้ ถ้าเป็นมาตรการที่รู้จักทั่วไปให้ระบุในเอกสารอ้างอิง ถ้าเป็นวิธีใหม่ อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วนำไปใช้ต่อได้ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
- ผลการศึกษา บรรยายถึงผลที่ได้จากการศึกษาตามลำดับหัวข้อของแผนการศึกษาอย่างชัดเจน ดูได้ง่าย ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมาก บรรยายเป็นร้อยแล้ว แต่ถ้าตัวเลขมาก ตัวแปรมากควรใช้ตาราง หรือแผนภาพโดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง
- อภิปรายผล เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความทางวิชาการ เป็นการแสดงให้เห็นว่าการศึกษาวิจัยนี้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ (หรือไม่) ในการค้นหา ต่อยอด อุดช่องว่าง จนได้ความรู้ใหม่ที่เพิ่มจากที่เคยค้นพบมา มีการเปรียบเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อแสดงถึงความรู้ใหม่ อาจยืนยันความรู้เดิมได้บ้าง หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อภิปรายผลที่ไม่ตรงตามที่คาดหวัง อย่างไม่ปิดบัง แต่พยายามอธิบายถึงแง่มุมใหม่ที่แสดงความสำคัญของผลการศึกษาที่ได้ว่าไปต่อยอดความรู้เดิมอย่างไร หรืออาจนำเอาผลการศึกษาอื่นมาอธิบายสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย หรือเอาสิ่งที่ค้นพบไปอธิบายผลการศึกษาอื่น
- ข้อสรุป แสดงข้อสรุปเกี่ยวกับงานวิจัยทั้งชิ้นจากผลการศึกษา และการอภิปรายผล รวมทั้งแสดงว่าผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ อย่างไร ควรข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ทั้งในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติในหน่วยงาน หรือการนำไปประยุกต์ในท้องที่อื่นๆ มีข้อเสนอแนะในแง่มุมที่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม หรือให้ประเด็นคำถามการวิจัยสำหรับการวิจัยต่อไป
- กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ควรมีเพียงย่อหน้าเดียว ไม่ควรยาวมากนัก เพื่อแสดงความขอบคุณที่ได้รับการช่วยเหลือที่สำคัญจากที่ใดบ้าง เช่น ผู้บริการ ผู้ช่วยเหลือทางเทคนิคบางอย่าง และผู้สนับสนุนทุนการวิจัย หน่วยงาน หรือแหล่งทุน การใส่ชื่อคนช่วยมากๆ ทำให้บทความด้อยความภูมิฐาน เพราะผู้อ่านจะอนุมานว่างานส่วนใหญ่มีคนช่วยทั้งหมด
- หน้าถัดไป ตาราง ภาพ และแผนภาพ ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น และต้องมีคำอธิบายสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน ในกรณีที่เป็นตารางคำอธิบายต้องอยู่ด้านบน ในกรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิคำอธิบายอยู่ด้านล่าง ควรแยกพิมพ์ต่างหากไม่ควรสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง แต่ควรเว้นที่ว่าไว้ในเนื้อเรื่องพอเป็นที่เข้าใจ พร้อมกับเขียนแจ้งไว้ในกรอบว่าใช้ตาราง ภาพ หรือแผนภาพใด
- หน้าถัดไป เอกสารอ้างอิง ดูในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิง
- เอกสารอ้างอิง กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์และใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ ส่วนการเนื้อหาของเอกสารอ้างอิง กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์และใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา โดยใช้รูปแบบ Vancouver ใส่เลขยกภายในวงเล็บหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคลเจ้าของข้อความที่นำมาอ้างอิง ใช้หมายเลข 1 สำหรับการอ้างอิงอันดับแรก และเรียงต่อไปตามลำดับ(1,4-8,10) ถ้ามีการอ้างอิงซ้ำให้ใส่หมายเลขเดิม(1) หลักเกณฑ์การอ้างอิงท้ายเล่มให้ใส่หมายเลขเรียงลำดับอ้างอิงในเนื้อเรื่องไม่เรียงลำดับตามอักษรของผู้นิพนธ์ และให้เป็นไปตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- หน้าที่ 1 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
- กระดาษที่ใช้ควรเป็นกระดาษ A4 ให้ระยะขอบบนและซ้ายเท่ากับ 1.5 นิ้ว ระยะขอบล่างและขอบขวาเท่ากับ 1 นิ้ว ประกอบด้วย
1.6.1 หนังสือ ตำรา
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (บรรณาธิการ). (ปีทีพิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
1.6.2 บทความวารสาร
ลำดับที่. ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.
1.6.3 หนังสือรายงานการประชุม เอกสารประชุมวิชาการ
ลำดับที่. ชื่อผู้จัดทำหรือบรรณาธิการ. (ปีพิมพ์, เดือน). ชื่อหนังสือ. ชื่อการประชุม. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
1.6.4 หนังสือแปล
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่งดั้งเดิม. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือฉบับแปล. (ชื่อผู้แปล, ผู้แปล). ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
1.6.5 วิทยานิพนธ์
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา..........สาขาวิชา...........คณะ..........สถาบัน.
1.6.6 โสตทัศนวัสดุหรือสื่อวิทยุโทรทัศน์
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. [ประเภทสื่อ]. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
1.6.7 บทความวารสารเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต โดยที่วารสารนั้นมีฉบับที่เป็นสิ่งพิมพ์ (Printed version) อยู่ด้วย
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่). เลขหน้า.
1.6.8 บทความวารสารเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเท่านั้นไม่มีฉบับที่เป็นสิ่งพิมพ์
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่). เลขหน้า (ถ้ามี). ค้นเมื่อวันเดือนปีที่ค้น, จาก URL.
1.6.9 ข้อมูลจาก web site ของหน่วยงานต่างๆ
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์, วัน เดือน). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์. ค้นเมื่อวันเดือนปีที่ค้น, จาก URL.
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่งหรือชื่อหน่วยงาน. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อวันเดือนปีที่ค้น, จาก URL.
1.6.10 ข้อมูลจาก web site ของบุคคล ไม่ระบุแหล่ง/หน่วยงานที่สังกัด
ลำดับที่. ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ ระบุวันเดือนปีที่ค้น, จาก URL.
1.6.11 ข้อมูลจาก web site ไม่ระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้จัดทำ
ลำดับที่. ชื่อเรื่อง. (ปีพิมพ์). ค้นเมื่อ ระบุวันเดือนปีที่ค้น, จาก URL.
(ชื่อผู้แต่งหากมีมากกว่า 2 คน ให้ใส่ และคณะ หรือ et al)
การเตรียมบทความปริทัศน์และปกิณกะ
กระดาษที่ใช้ควรเป็นกระดาษ A4 จัดเค้าโครงกระดาษให้ระยะของบนและขอบซ้ายเท่ากับ 1.5 นิ้ว ระยะขอบล่างและขอบขวาเท่ากับ 1 นิ้ว ประกอบด้วย
-
- หน้าที่ 1 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
- ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วม (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้นิพนธ์และผู้ร่วม (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษา (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษา (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อผู้นิพนธ์ที่ให้การติดต่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- หัวข้อบทคัดย่อ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- เนื้อหาในบทคัดย่อ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ ความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
- หัวข้อคำสำคัญ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ
- คำสำคัญ (ภาษาไทย) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา โดยกำหนดให้ระบุเพียง 3 คำ และแยกคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
- หน้าที่ 2 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
- หัวข้อบทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 แบบหนา (bold) จัดแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษ
- เนื้อหาในบทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ ความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
- หัวข้อคำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ
- คำสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา โดยกำหนดให้ระบุเพียง 3 คำ และแยกคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
- บทเกริ่นนำ กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ประเด็นเนื้อหา และข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะของบทความ ความยาวไม่ควรเกิน 10 บรรทัด และหัวเรื่องให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ ขณะที่เนื้อหาในบทเกริ่นนำให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ
- เนื้อหาของบทความ กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วยหัวข้อเรื่องตามที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ โดยหัวเรื่องให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ ขณะที่ในส่วนเนื้อหาให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ กรณีที่มีรูปภาพ หรือตารางให้อ้างอิง และนำไปไว้ตอนท้ายของบทความ ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 5 หน้ากระดาษ A4
- บทสรุป กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ กล่าวถึงบทสรุปของบทความที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ โดยหัวเรื่องให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบหนา (bold) จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ ขณะที่ในส่วนเนื้อหาให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวกระจายชิดขอบซ้ายและขอบขวาของหน้ากระดาษ
- เอกสารอ้างอิง กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์และใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา จัดแนวชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ รูปแบบการเขียนให้ใช้รูปแบบเดียวกับการเตรียมนิพนธ์ (ตาราง ภาพและแผนภูมิ กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ และใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 แบบธรรมดา)
- หน้าที่ 1 กำหนดการพิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์ ประกอบด้วย
นิพนธ์ต้นฉบับและบทความปริทัศน์ทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณาเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการ เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิตามสาขาทำหน้าที่ประเมินด้านวิชาการ และให้ความเห็นอย่างอิสระ โดยไม่มีการเปิดเผยทั้งชื่อผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blond peer review) จำนวน 3 คน จากหลากหลายสถาบัน บทนิพนธ์และความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับการพิจารณาโดยกองบรรณาธิการ ในกรณีที่มีข้อแนะนำให้ปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง จะส่งความเห็นให้ผู้นิพนธ์พิจารณา หลังจากได้รับบทนิพนธ์ฉบับแก้ไขจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นอีกครั้งและกองบรรณาธิการจะพิจารณาขั้นสุดท้ายในการรับหรือไม่รับตีพิมพ์