ประสิทธิผลของผงกล้วยดิบต่อการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ธรรมพร
ดาริน สุทธิธรรม
ปิยพร สีสันต์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของผงกล้วยดิบในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 2) ผลการรักษาภาวะขาดน้ำ 3) ศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และ 4) ความพึงพอใจของการใช้ผงกล้วยดิบรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันระยะเวลาศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2564-2565 โดยทำการคัดเลือกอาสาสมัครแบบเจาะจง จำนวน 124 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 31 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับผงกล้วยดิบขนาด 500 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ได้รับผงกล้วยดิบในขนาด 1,000 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 3 ได้รับผงกล้วยดิบในขนาด 2,000 มิลลิกรัม และกลุ่มที่ 4 ได้รับยานอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) ขนาด 400 มิลลิกรัมโดย 3 กลุ่มแรกจะได้รับประทานผงกล้วยน้ำว้าดิบระยะเวลา 7 วัน ๆ ละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน คือ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ร้อยละ 85.49 (106 คน) มีภาวะขาดน้ำระดับรุนแรงน้อย รองลงมาร้อยละ 14.56 (18 คน) มีภาวะขาดน้ำระดับปานกลาง เมื่ออาสาสมัครแต่ละกลุ่มรับประทานผงกล้วยน้ำว้าดิบขนาด 500, 1,000, 2,000 มิลลิกรัม และยานอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) มีค่าเฉลี่ยการถ่ายอุจจาระเหลวเท่ากับ 1.50±1.92, 1.31±1.48, 1.57±1.76 และ 1.36±1.44 ครั้ง ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนรับประทานผงกล้วยน้ำว้าดิบ ค่าเฉลี่ยการถ่ายอุจจาระเหลวอย่างนน้อย 1 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบอาการไม่พึงประสงค์ร้อยละ 12.90 (16 คน) ได้แก่ อาการท้องอืดและหอบเหนื่อยอาสาสมัครที่รับประทานผงกล้วยดิบมีภาพรวมความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของการรักษาในระดับมากที่สุด (4.61±0.66)

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ